ผลประโยชน์ที่เกิดจากผลงานวิจัย หรือสิ่งประดิษฐ์
Main Article Content
Abstract
มักจะได้ยินคำถามจากนักวิจัยรุ่นใหม่อยู่เสมอว่าเมื่อทำงานวิจัยแล้วจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอะไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติมาตรา 4 ได้ให้ความหมายของคำว่า “คณาจารย์” หมายความว่า บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอน และการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐ และเอกชน แสดงว่าอาจารย์ผู้สอนในระดับอุดมศึกษาทุกท่านจะต้องมีหน้าที่หลักทั้งค้นคว้าเนื้อหาวิชาการเพื่อสอน และในเวลาเดียวกันก็จะต้องค้นคว้าทำงานวิจัยควบคู่กันไป โดยทั่วไปของการทำวิจัยนั้น อาจารย์ผู้ทำงานวิจัยก็จะได้พัฒนาความรู้ ประสบการณ์และเป็นผลงานทางวิชาการ ซึ่งสามารถสร้างชื่อเสียงให้ตัวเอง หน่วยงาน และสถาบันที่สังกัด รวมทั้งการได้รับเชิดชูเกียรติอันสร้างความพึงพอใจในการทำประโยชน์ให้กับสังคม และอาจมีผลพลอยได้ตามมาในอาชีพการงานก้าวหน้าขึ้น เป็นต้น ซึ่งจัดว่าเป็นผลตอบแทนทางอ้อม นอกจากนี้ผลตอบแทนอื่นจะกลับมาในรูปแบบของการที่สามารถประสานงานกับบริษัทเอกชน เช่น การเป็นที่ปรึกษาบริษัท การให้ทุนสนับสนุนการศึกษา และการวิจัยแก่สถาบัน และบางกรณีผลงานวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ก็จะได้รับผลประโยชน์ทางตรงเป็นตัวเงินจากการซื้อลิขสิทธิ์ผลงานวิจัย ซึ่งในกรณีนี้จะมีการแบ่งส่วนผลประโยชน์ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องหน่วยงาน/สถาบันที่ผู้วิจัยสังกัด และผู้ให้ทุนวิจัย
Article Details
The manuscript, information, content, picture and so forth which were published on Frontiers in engineering innovation research has been a copyright of this journal only. There is not allow anyone or any organize to duplicate all content or some document for unethical publication.