โครงการวิจัยการพัฒนาออกแบบและสร้างเครื่องกะเทาะเมล็ดสะเดา

Main Article Content

สญชัย เข็มเจริญ

Abstract

โครงการวิจัยการพัฒนาออกแบบและสร้างเครื่องกะเทาะเมล็ดสะเดา เป็นโครงการที่มุ่งเน้นพัฒนาเครื่องกะเทาะเมล็ดสะเดาจากเครื่องต้นแบบที่มีอยู่ให้มีความกะทัดรัดเหมาะสมกับการใช้งานโดยจะทำการศึกษาจุดบกพร่องต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้นจากเครื่องต้นแบบ แล้วมาทำการปรับปรุงรวมทั้งทำการศึกษารูปแบบของหน้าจานกะเทาะและวัสดุที่นำมาใช้ทำหน้าจานกะเทาะ และระบบการคัดแยกเมล็ดกับเปลือกหุ้มเมล็ด เมื่อได้ทำการศึกษาเครื่องกะเทาะเมล็ดสะเดาต้นแบบที่มีอยู่เดิมทำให้สามารถสรุปปัญหาของเครื่องได้ว่าเครื่องต้นแบบมีการออกแบบโครงสร้างที่ยังไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน การเลือกใช้วัสดุที่นำมาทำหน้าจานกะเทาะและรูปแบบของหน้าจานกะเทาะมีความสามารถในการกะเทาะต่ำ จึงได้ทำการศึกษาหารูปแบบของหน้าจานกะเทาะและชนิดของวัสดุที่เหมาะสมเพื่อให้ได้อัตราการผลิตที่สูงขึ้น นอกจากนั้นยังได้ทำการศึกษาออกแบบระบบคัดแยกเปลือกกับเมล็ดให้เหมาะสมกับอัตราการผลิตของเครื่อง จากการออกแบบรูปแบบของหน้าจานกะเทาะจำนวน 3 รูปแบบพบว่าหน้าจานกะเทาะที่เหมาะสมจะต้องมีหน้าจานที่โค้งนูนและเว้ารับกันทั้งสองด้าน และการเลือกใช้วัสดุในการทำหน้าจานกะเทาะจำนวน 3 ชนิด พบว่า วัสดุประเภท Natural Rubber เป็นวัสดุที่เหมาะสมต่อการทำหน้าจานกะเทาะ ส่วนระบบการคัดแยกเปลือกกับเมล็ดใช้ระบบลมเป่าจะดีกว่าการใช้ลมดูดหรือการคัดแยกด้วยตะแกรงสั่นจากนั้นได้ทำการหาอัตราการผลิตของเครื่องซึ่งสามารถกะเทาะเมล็ดได้ 85กิโลกรัมต่อชั่วโมง การคัดแยกด้วยระบบลมเป่าสามารถแยกเมล็ดได้เท่ากับ 98% โดยน้ำหนักของเมล็ด

Article Details

How to Cite
เข็มเจริญ ส. . (2002). โครงการวิจัยการพัฒนาออกแบบและสร้างเครื่องกะเทาะเมล็ดสะเดา. Frontiers in Engineering Innovation Research, 2, 52–57. retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/242371
Section
Research Articles

References

คณะวิศวกรรมศาสตร์. แบบเสนอโครงการวิจัยเบื้องต้น (Pre-proposal) ในการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.

บริษัท เอ็มแอนด์อี จำกัด, 2543, 59 เรื่องน่ารู้เทคนิคเครื่องกล(ชุดที่ 8,บริษัทชีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด (มหาชน), หน้า 137-170.

William F. Smith. 1996. แม้น อมรสิทธิ์และสมชัย อัครทิวา (แปลและเรียบเรียง) : วัสดุวิศวกรรม Principles of Materials Science and Engineering. McGraw-Hill Companies Inc.,P216-281.