Aerated Concrete by Aluminum Powder Method

Main Article Content

ประชุม คำพุฒ

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากำลังอัดของคอนกรีตพรุน โดยใช้วิธีการบ่มด้วยเครื่องอบไอน้ำความดันสูงการผลิตคอนกรีตพรุนใช้วิธีผสมผงอะลูมิเนียมลงไปในมอร์ต้า ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีได้ฟองก๊าซไฮโดรเจนในเนื้อมอร์ต้า ปริมาณผงอะลูมิเนียมที่ใช้ ร้อยละ 0.10, 0.20 และ 0.30 โดยน้ำหนักของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 3 กับทรายละเอียดในอัตราส่วน 1:1 โดยน้ำหนักใช้อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์เท่ากับ 0.55, 0.60 และ 0.65 ใช้ปริมาณปูนขาวเท่ากับร้อยละ 3, 5 และ 7 โดยน้ำหนักของปูนซีเมนต์ และใช้ปริมาณยิบซั่มคงที่เท่ากับร้อยละ 3 โดยน้ำหนักของปูนซีเมนต์ นำไปหล่อเป็นชิ้นตัวอย่างรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ขนาด 5x5x5 เซนติเมตร จำนวนทั้งสิ้น 468 ตัวอย่าง ถอกแบบออกหลังจากหล่อก้อนตัวอย่างครบ 24 ชั่วโมง บ่มด้วยหม้ออบไอน้ำความดันสูง 8 ชั่วโมง แล้วบ่มต่อโดยใช้ถุงพลาสติกคลุมและทำการทดสอบคุณสมบัติหากำลังรับแรงอัด, ความหนาแน่น และอัตราการดูดซึมของตัวอย่างคอนกรีตพรุนที่ได้ เมื่ออายุครบ 7 วัน และ 28 วัน พบว่ากำลังอัดของคอนกรีตพรุนแปรผันตรงกับค่าความหนาแน่น และแปรผกผันกับปริมาณของอะลูมิเนียมและอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ซึ่งความหนาแน่นที่ได้ขึ้นอยู่กับปริมารน้ำและปริมาณของผงอะลูมิเนียมเป็นหลัก อีกทั้งยังพบว่าที่อัตราส่วนระหว่างน้ำต่อซีเมนต์เท่ากับ 0.55 ปริมาณผงอะลูมิเนียมร้อยละ 3 ปริมาณปูนขาวร้อยละ 5 ปริมาณยิบซั่มร้อยละ 3 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดสพหรับการศึกษาในครั้งนี้

Article Details

How to Cite
คำพุฒ ป. . (2002). Aerated Concrete by Aluminum Powder Method. Frontiers in Engineering Innovation Research, 2, 46–51. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/242369
Section
Research Articles

References

ASTM. Annual Book of ASTM Standard.1973, Easton, Md., USA., 1973.

Benjamin, I.A., Light Weight Concrete, American Concrete Institute, Detroit, Michican, 1960.

Short, A. and Kinniborgh, W. Light Weight Concrete. First Publishing Ltd., 1981.

Neville, A.M. Properties of Concrete. 3rd ed.,Pitman Publishing Ltd., 1981.

ชัชวาลย์ เศรษฐบุตร. คอนกรีตเทคโนโลยี.พิมพ์ครั้งที่ 1, 2536

วินิต ช่อวิเชียร. คอนกรีตเทคโนโลยี.พิมพ์ครั้งที่ 5, 2527