การนำผักตบชวามาผลิตแผ่นเส้นใยสำหรับงานเกษตรกรรม
Main Article Content
Abstract
การศึกษาการนำผักตบชวามาผลิตแผ่นเส้นใยสำหรับงานเกษตรกรรม เนื่องจากผักตบชวา (รูปที่1) เป็นวัชพืชน้ำชนิดหนึ่งที่มีความสามารถพิเศษในการสร้างอาหาร และการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมทำให้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจึงก่อให้เกิดปัญหานานานับประการแก่วงการที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ เช่น
- การชลประทานทำให้เกิดอุปสรรคกับการระบายน้ำของฝาย ประตูระบายน้ำ และอื่นๆ ทำให้ทางเดินของน้ำเกิดการตื้นเขินเร็วกว่าปกติและทำให้เกิดน้ำท่วมตามมา
- การไฟฟ้าพลังน้ำ ทำให้เกิดปัญหาสำคัญในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ เช่น ลดปริมาณน้ำซึ่งเกิดจากผักตบชวาที่ตายทับถมกันทางเดินน้ำตื้นเขินเพิ่มอัตราการระเหยของน้ำ แย่งเนื้อที่ในการเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำ
- การกสิกรรม ผักตบชวาจะแย่งน้ำและอาหารจากพืชที่ปลูก ผักตบชวาจะสอบมาทับต้นข้าวเป็นแหล่งเพราะพันธุ์ศัตรูพืชนานาชนิด
- การสาธารณสุข เป็นที่อยู่อาศัยของลูกน้ำของยุง นำเชื้อโรคมาสู่คน เป็นที่อาศัยของสัตว์ร้าย เช่น งูพิษ
- การประมง ผักตบชวาเป็นอุปสรรคแก่การเจริญเติบโตของปลาและการจับปลา แสงสว่างในน้ำลดลงเป็นผลให้พืชที่เป็นอาหารของปลามีน้อย ปลามีขนาดเล็กลง พื้นน้ำที่ผักตบชวาขึ้นอยู่หนาแน่นน้ำไม่มีการไหลเวียนทำให้ปลาและสัตว์น้ำอาศัยอยู่น้อยกว่าปกติ
- การคมนาคมทางน้ำ ผักตบชวากีดขวางการสัญจรทางน้ำ
- การท่องเที่ยว ผักตบชวามีส่วนในการทำลายความสวยงามของแหล่งน้ำนั้นๆ และรบกวนกิจกรรมอื่นๆ ในขณะพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น
- การเศรษฐกิจและสังคมทำให้หน่วยงานต่างๆ ต้องเสียค่าใช้จ่ายจากงบประมาณแผ่นดินปีละหลายสิบล้านบาท สำหรับการกำจัดวัชพืชน้ำโดยเฉพาะการชลประทาน
จากปัญหาดังกล่าวจึงมีผู้นำเอาผักตบชวามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางเกษตรกรรมและลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น นำไปทำอาหารสัตว์ ปุ๋ย เพราะเห็ด ฯลฯ ปัญหาทางด้านเกษตรกรรม พบว่า การเพาะพันธุ์กล้าไม้เกษตรกรยังคงต้องอาศัยถุงดำ สำหรับการเพาะพันธุ์กล้าไม้ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบจากการเพาะปลูก เพราะเกษตรกรต้องฉีกถุงดำออกก่อนนำไปลงดินทำให้ดินที่หุ้มต้นกล้าแตกต้นไม้เฉาตาย ทำให้เสียเวลาในการเพาะปลูก อีกทั้งถุงดำที่ฉีกออกกลายเป็นเศษพลาสติกยากแก่การย่อยสลายก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะนำเส้นใยจากก้านใบของผักตบชวา มาผลิตแผ่นเส้นใยสำหรับงานเกษตรกรรม เช่น การนำแผ่นใยที่ได้มาขึ้นรูปเป็นถุงเพาะพันธุ์กล้าไม้
Article Details
The manuscript, information, content, picture and so forth which were published on Journal of Engineering, RMUTT has been a copyright of this journal only. There is not allow anyone or any organize to duplicate all content or some document for unethical publication.
References
กัญจนา บุญยืนวิทย์ และ นิมลรัตน์ สุประภากร.การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเส้นใยผักตบชวามาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ.กรุงเทพฯ: ภาควิชาวัสดุศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
คณะอนุกรรมการประสานงานพืชน้ำ. เอกสารวิชาการเรื่องผักตบชวา, กรุงเทพๆ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2520
ชัยยุทธช่างสารและคณะ. เส้นใยจากต้นรูปฤษีเพื่อนำมาใช่ในงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ. ปทุมธานี:ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและสิ่งทอ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, 2536
สุจิระ ขอจิตต์เมตต์.อกสารคำสอนผ้าไม่ทอ.ปทุมธานี : ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งทอ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล,2542.