Design and Construction of Prototype of Bottle's Cork Pressing Machine

Main Article Content

อนันต์ วงศ์กระจ่าง

Abstract

จากการศึกษาการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดบรรจุขวด เช่น ยา อาหาร น้ำ สุรา และไวน์เป็นต้น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ผ่านขั้นตอนในการบรรจุและอัดจุกด้วยกรรมวิธีที่แตกต่างกัน เช่น อัดจุกโดยใช้จุกคอร์ก ฝาจีบโลหะ ฝาเกลียวพลาสติกและจุกพลาสติก เป็นต้น ทำให้ผู้บริโภคขาดความนิยมต่อการบริโภคเครื่องดื่มที่มีฝาจุกไม่เหมาะสมและไม่น่าเชื่อถือ


                การวิจัยนี้เพื่อศึกษาและคิดค้นออกแบบ และสร้างเครื่องอัดจุกคอร์กขวดด้วยระบบ Manual และระบบกึ่งอัตโนมัติขึ้น  ที่สามารถทำงานได้รวดเร็วแทนการใช้แรงคน และมีราคาไม่สูงนักวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบอัดจุกคอร์กขวดระบบกึ่งอัตโนมัติ และหาประสิทธิภาพของเครื่องที่สร้างขึ้นขอบเขตของการวิจัยออกแบบเครื่องให้สามารถใช้อัดจุกคอร์กขวด ขนาด 330 cc. และ 750 cc. ได้โดยเครื่องจะทำงานด้วยระบบ  Manual  และระบบกึ่งอัตโนมัติ ขั้นตอนการวิจัย คือ การศึกษาข้อมูลการออกแบบเครื่อง และส่วนประกอบของเครื่องตามแนวคิดในการออกแบบและข้อกำหนด ทดลองการทำงานของเครื่อง  และทดสอบในภาคสนามผลการวิจัยพบว่า ขวดที่บรรจุเครื่องดื่มที่นิยมในผู้บริโภคมาก มีตั้งแต่ขนาด 187.5  cc. ถึง 750 cc. จุกคอร์กที่ใช้นำเข้าจากต่างประเทศ วิธีการอัดจุกคอร์กมีทั้งที่ใช้เครื่องอัตโนมัติ และเครื่อง Manual  ที่ใช้แรงคน ผลการสร้างเครื่องต้นแบบอัดจุกคอร์กขวด คือ เครื่องสามารถทำได้ทั้งระบบ Manual และระบบกึ่งอัตโนมัติในเครื่องเดียวกัน ที่สามารถอัดจุกคอร์กด้วยความเร็ว 15 ขวดต่อนาที ทำการอัดจุกคอร์กได้เร็วกว่าการใช้เครื่องอัดชนิดอัดด้วยแรงคนถึง 3.75 เท่า และค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยของความลึกในการอัดจุกคอร์กเท่ากับ 0.23 mm.

Article Details

How to Cite
วงศ์กระจ่าง อ. . (2005). Design and Construction of Prototype of Bottle’s Cork Pressing Machine. Journal of Engineering, RMUTT, 5, 36–43. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/242324
Section
Research Articles

References

ธีรวัลย์ ชาญฤทธิเสน, 2542, "เรียนรู้การทำไวน์ผลไม้ด้วยตนเอง", ศิลปะการพิมพ์, ลำปาง,หน้า 1-3, 11, 37, 62.

วริทธิ์ อึ้งภากรณ์ และชาญ ถนัดงาน, 2531,"การออกแบบเครื่องจักรกล", เอช - เอน การพิมพ์, กรุงเทพมหานคร, หน้า 24.

ณรงค์ ตันตะชีวะวงศ์, 2540, "ระบบ PLCW,สำนักพิมพ์ดวงกมลสมัย", กรุงเทพมหานคร,หน้า 5-6, 13.

ค่มือการฝีกอบรม CPM เบื้องต้น, Omron electronics Co,Ltd, กรุงเทพมหานคร, หน้า 43-45

พรจิต ประทุมสุวรรณ, 2535, "การควบคุมนิวแมติกส์", เรือนแก้วการพิมพ์, กรุงเทพมหานคร, หน้า 47-71.

มนูญ ชื่นชม, 2533, "นิวแมติกเบื้องต้น",ชีเอ็ดยูเคชั่น, กรุงเทพมหานคร, หน้า 15.

สมยศ จันเกษม และดิโยคุตสึ ชิงะ, 2527,"การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล", สำนักพิมพ์ดวงกมล, กรุงเทพมหานคร, หน้า 212.

บรรเลง ศรนิล และประเสริฐ ก๊วยสมบูรณ์,2524, "ตารางโลหะ", สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้พระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร,หน้า 98, 102, 136.

Shigley, Joseph E. and Mischke, Charles R.2001, Mechamical Engineering Design. Sixth

ed. Singapore: McGraw-Hill.

Spotts, M.F. and Shop, T.E.1998. "Designof Machine Elements". New Jersey: Prentice

Hall, inc.