A Development of Neem Oil Pressing Machine Using a Single Screw to Study a Suitable Production Condition
Main Article Content
Abstract
การทำโครงการวิจัย เรื่องการพัฒนา และการศึกษาสภาวะการผลิตที่เหมาะสม ในการบีบอัดน้ำมันออกจากเมล็ดสะเดา ด้วยเครื่องบีบอัดแบบเกลียวเดี่ยว มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนโครงการ “ การผลิตสารสกัดจากสะเดาเชิงธุรกิจ : วิทยาการเพื่อการการพึ่งพาตนเอง” ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และเพื่อเป็นการพัฒนาแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ของเครื่องบีบอัดน้ำมันออกจากเมล็ดสะเดาให้สามารถใช้ปฏิบัติงานการศึกษาทดลองหาสภาวะเหมาะสมในการผลิต
การศึกษาทฤษฎีพื้นฐานของสะเดา อุปกรณ์ที่ใช้ในการปรับความเร็วรอบ เครื่องกลศาสตร์ไฟฟ้าและหลักการออกแบบเครื่องจักรกล เพื่อนำไปปรับปรุงเครื่องบีบอัดน้ำมันออกจากเมล็ดสะเดาให้สามารถทำงานได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
จากนั้นทำการศึกษาหาสภาวะในการผลิตที่เหมาะสมคือ ศึกษาผลของการบีบอัดน้ำมันจากเมล็ดสะเดาที่ผ่านการกะเทาะเปลือก ศึกษาผลของการบีบอัดน้ำมันจากเมล็ดสะเดาที่ยังไม่กะเทาะเปลือก ศึกษาการนำเมล็ดสะเดาที่ผ่านการบีบอัดมาแล้ว (กากสะเดา) มาทำการบีบอัดใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยศึกษาเกี่ยวกับระยะการบีบอัด (ความหนาของกากสะเดา) ความเร็วรอบของเกลียวบีบอัด ความเร็วรอบของชุดป้อนเมล็ด ว่ามีผลอย่างไรกับปริมาณน้ำมัน อุณหภูมิ และกระแสไฟฟ้าที่ใช้ ผลจากการศึกษาพบว่า เมล็ดสะเดาที่ผ่านมาการกะเทาะเปลือกแล้วจำนวน 1 กก. ใช้ระยะการบีบอัดให้ได้ความหนาของกากสะเดาเท่ากับ 2 มม. ความเร็วของเกลียวบีบอัดเท่ากับ 24 รอบ/นาที ความเร็วในการป้อนเมล็ดเท่ากับ 22 รอบ/นาที ได้น้ำมันสะเดา 218.20 กรัม กาก 764.26 กรัม อุณหภูมิเกิดขึ้นขณะทำการบีบอัด 51.60 ค่ากระแสไฟฟ้าเท่ากับ 1.08 บาท ความเร็วในการผลิต 11.93 กก./ชม ส่วนการบีบอัดน้ำมันจากสะเดาที่ไม่ได้ผ่านการกะเทาะเปลือก ได้น้ำมันสะเดา 162.13 กรัม กาก 824.87 กรัม อุณหภูมิเกิดขึ้นขณะทากรบีบอัด 62.85 และกากสะเดาที่ผ่านการบีบอัดมาแล้ว ได้น้ำมันสะเดา 45.87 กรัม กาก 940.67 กรัม อุณหภูมิเกิดขึ้นขณะทำการบีบอัด 71.24 จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้เป็นข้อมูลในการผลิต เพราะว่าได้ปริมาณน้ำมันไม่มากความร้อนในขณะทำการบีบอัดสูง ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่า
Article Details
The manuscript, information, content, picture and so forth which were published on Journal of Engineering, RMUTT has been a copyright of this journal only. There is not allow anyone or any organize to duplicate all content or some document for unethical publication.
References
http:/web.ku.ac.th/
อัญชลี สงวนพงษ์, 2543, เทคโนโลยีสารสกัดจากสะเดา,กรุงเทพฯ,บริษัทชีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด
วริทธิ์ อึ้งภากร, ชาญ ถนัดงาน,2537, การออกแบบเครื่องจักรกลเล่ม 1,พิมพ์ครั้งที่ 10,บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด
ไชยชาญ หินเกิด,2543, เครื่องกลไฟฟ้า,กรุงเทพๆ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
วิชัยศังขจันทรานนท์,2540,การควบคุมเครื่องกลไฟฟ้าด้วยอิเล็กทรอนิกส์กำลัง, กรุงเทพฯ :สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)