การออกแบบในโครงสร้างไม้โดยใช้ไม้กระท้อนและไม้สะเดาเทียม เป็นองค์ประกอบในโครงสร้างไม้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไม้กระท้อน และไม้สะเดาเทียม ซึ่งเป็นไม้โตเร็ว มาใช้เป็นองค์ประกอบ ในโครงสร้างอาคารไม้ โดยอาศัยผลการวิเคราะห์ค่าทางสถิติของข้อมูลที่ได้จากการทดสอบ จำนวน 11 รายการตามมาตรฐาน ASTMD-143 ให้อยู่ในช่วงแห่งความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 ตัวแปรสุ่มประกอบด้วยโมดูลัสยืดหยุ่นสำหรับการดัด (E) กำลังดัด กำลังเฉือนและน้ำหนักบรรทุกจร ตัวแปรสุ่มเหล่านี้ อาจแทนได้ดี ด้วยจากแจกแจงแบบปกติ การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือขององค์อาคารใช้วิธีคำตอบถูกต้องบนพื้นฐานของข้อมูลทางวิศวกรรมในประเทศไทยผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการรับน้ำหนักของตง และคาน ถูกควบคุมด้วยพิกัดการโก่งตัว จึงกำหนดให้ความน่าวิบัติ (pf) =10 [superscript-4] และมี E เป็นตัวแปรหลักและในขณะที่การรับน้ำหนักของเสาถูกควบคุมด้วยน้ำหนักบรรทุกวิกฤตของออยเลอร์ จึงกำหนดให้ Pf =10[superscript-6] และมี E เป็นตัวแปรหลักเช่นกันในส่วนของการหาขนาดหน้าตัดขององค์อาคารไม้ที่เสนอ มีขั้นตอนการออกแบบที่คล้ายกับวิธีหน่วยแรงใช้มาตรฐาน ว.ส.ท. ต่างกันเพียงใช้ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักบรรทุกจนที่จัดเก็บในประเทศไทยแทนที่จะใช้ค่าที่ระบุตามเทศบัญญัติ ทั้งนี้ขนาดหน้าตัดที่ได้ตรงกับขนาดหน้าตัดที่ได้จากซอฟต์แวร์ WCCAL นอกจากนั้นยังพบว่าโมดูลัสยืดหยุ่นที่ได้จากการทดสอบแรงอัดและแรงดึงขนานเสี้ยนของไม้ สามารถประยุกต์นำมาใช้ในการทำนายค่าโมดูลัสยืดหยุ่นที่ได้จากการทดสอบหากำลังรับแรงดัดของไม้ได้ อย่างใกล้เคียงอีกด้วย
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม,กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม. นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2540-2559 หน้า22-23
สุรีย์ ภูมิภมร และอนันต์ คำคง (บรรณาธิการ).ไม้โตเร็วอเนกประสงค์พื้นเมืองของประเทศไทย.
คณะอนุกรรมการประสานงานวิจัย และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้และไม่โตเร็วอเนกประสงค์.
American Institute of Timber Construction Timber Construction Manual 2nd ed.
Englewood, Colorado, 1974.
W.Ouypormprasert, Goodness-of-Fit 'Test forCommon Continuous in Civil Engineering
Editor-in-Chief Y.H.Wu, Proceedings of CMM2002 ,22-24 May 2002, at Century
Park Hotel, Bangkok, Organized by Mahidol University, the EAST-WEST Journal of
Mathematics, the special Volume, ISSN 1513-489 X, page 24.
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, มาตรฐานสำหรับอาคารไม้, คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา 2515-16, 2517.
สุชาติ ชะโยชัยชนะ. การวิเคราะห์ค่ตัวคูณสำหรับน้ำหกบรรทุกในงานคอนกรีตเสริมเหล็กตามสภาพก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิศวกรรมโยธาบัณทิตมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2531.
W. Ouypornprasert, Methods to Calculate Structural Reliability. Internal Working Report No. 18 : Institute of Engineering Mechanics,University of Innsbruck, Austria, 1988.
W. Ouypornprasert, Towards Calibration of Building Design Codes for ASEAN Countries,
in the Proceedings of CAFEO-19 (the19h Conference of the ASEAN Federation of Engineering Organisation), 22-24 October 2001 at the Center Point Hotel, Gadong,Bandar Seri Begawan, Negara Brunei Darussalam, page 217-225.
W.Ouypornprasert and T. Jirayut, Algorithms for Determination of Allowable Holding Loads for Nails and Screws Based on Probability Theory, International Journal of Materials Structural Reliability. 2 (2003): 89-99.
P. Ngamcharoen and W. Ouypornprasert,Asymptotic Coefficient of Variation of Structural Response against Target Reliability,International Journal of Materials Structural Reliability. 1(2004): 59-74.
จักรพันธ์ แสงสุวรรณและคณะ, "การใช้ไม้เนื้ออ่อนโตเร็วในประเทศไทยเป็นองค์ประกอบในโครงสร้างไม้" โครงการวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล งบประมาณปี 2546.
มงคลกร ศรีวิชัย และคณะ, ชาร์ตออกแบบองค์อาคารไม้โดยอาศัยขีดจำกัดค้นกำลัง, ปริญญานิพนธ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต, วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต: 2546.
อัปสร จุมพรม และคณะ, ชาร์ตออกแบบองค์อาคารไม้โดยโมดูลัสยืดหยุ่น. ปริญญานิพนธ์ภาควิชาวิศวกรรมโยธาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต,วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต:2546.
นพดล ฉายปัญญา, การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือขององค์อาคารไม้เนื้ออ่อนโดยใช้ข้อมูลทางวิศวกรรมในประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณทิต สาขาวิศวกรรมโยธา (โครงสร้าง), บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต: 2545.