การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมฉับพลันในลุ่มน้ำวัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความถี่และแนวโน้มของปริมาณฝนสูงสุดในรอบปีการเกิดต่างๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำวัง ซึ่งสามารถนำมาใช้ประยุกต์เป็นข้อมูลสำหรับประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยจากอุทกภัยและแผ่นดินถล่มจากฝนสูงสุด โดยทำการศึกษาลักษณะภูมิประเทศและสภาพการใช้พื้นที่ในลุ่มน้ำวัง รวบรวมข้อมูลน้ำฝนวิเคราะห์ความถี่และแนวโน้มของฝนสูงสุดตามวิธีกัมเบลนำข้อมูลที่ได้มาประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยจากการเกิดฝนสูงสุด พบว่าฝนสูงสุดที่อาจทำให้เกิดอุทกภัยและดินถล่ม โดยสวนมากแล้วจะเกิดในรอบ 2-3 ปี ซึ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำวังตอนกลางมีโอกาสได้รับความรุนแรงจากอุทกภัยในระดับมากและปานกลาง ส่วนลุ่มน้ำวังตอนบนและตอนล่างมีโอกาสได้รับความรุนแรงในระดับปานกลางและน้อย
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
[2] สุรเชษฐ์ บุญโอภาศ, คนตรี พรหมวงศ์, อนุสนธ์ มงคลสกุลฤทธิ์และอุดมศักดิ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา,2545. รูปแบบการกระจายตัวของปริมาณฝนตามช่วงเวลาการตกในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำภาคเหนือของประเทศไทย. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 8. โรงแรมโซฟิเทลราชา ออคิด.จ.ขอนแก่น.
[3] Lannapost, 2548. สภาพน้ำท่วมและการปฏิบัติงานในเขตเทศบาล นครลำปาง. ฉบับพิเศษ.ลำปาง.