โครงการพัฒนาปรับปรุงระบบการก่อสร้งชิ้นส่วนสำเร็อรูป สำหรับบ้านพักฉุกฉินชั่วคราวกรณีเกิดภัยพิบัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงการพัฒนาปรับปรุงระบบการก่อสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปสำหรับบ้านพักฉุกเฉินชั่วคราวกรณีเกิดภัยพิบัติครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบก่อสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปสำหรับ สำหรับบ้านพักฉุกเฉินชั่วคราวกรณีเกิดภัยพิบัติ สามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว เพื่อการตอบสนองและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยไม่ว่าจะเกิดในภูมิภาคใดก็ตาม โดนโครงการดังกล่าวเป็นการศึกษาออกแบบส่วนประกอบของโครงสร้างอาคารบ้านแถวชั้นเดียวจำนวน 4 หน่วย ที่สร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูปในระบบก่อสร้างแบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปแบบถอดสำเร็จ(Knock Down System) โดยจัดทำแบบรูปและรายการขั้นตอนการติดตั้ง รวมทั้งราคาต่อหน่วยและระยะเวลาในการติดตั้ง ภายใต้คำแนะนำของการเคหะแห่งชาติ(กคช,) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จากผลดารศึกษาได้แบบรูปและรายการตลอดจนรายละเอียดของขั้นตอนการติดตั้งโครงสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปบ้านแถวชั้นเดียวสำหรับบ้านพักฉุกเฉินชั่วคราวกรณีเกิดภัยพิบัติ ขนาด 4x16 ตารางเมตร โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายและราคาก่อสร้างต่ำที่สามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลา 3 วันระบบโครงสร้างข้อแข็ง(Frame Structures) ซึ่งต้นทุนทั้งค่าวัสดุและค่าแรงงานประกอบต่อหน่วย ราคาประมาณ 91,720 บาทรวมทั้งพบว่าสมารถที่จะทำการแยกหน่วย(Separate part of Structure) ได้ จึงเหมาะที่จะทำไปใช้ในท้องที่ต่างๆ กรณีเกิดภัยพิบัติได้เป็นอย่างดีใช้จุดต่อยึดชิ้นส่วนด้วยสลักเกลียว (Bolt) จึงทำให้การถอดประกอบและรื้อถอนทำได้ง่ายและรวดเร็วโดยการขนส่งสามารถทำได้โดยการใช้รถบรรทุกชนิด 6 ล้อขนาดบรรทุกน้ำหนัก 10 ตัน สามารถขนชิ้นส่วนระบบสำเร็จรูปได้จำนวน 2 หน่วยต่อ 1 เที่ยว อายุการใช้งานในสภาวะการใช้งานปกติมีการบำรุงดูแลรักษาสภาพของชิ้นส่วนเป็นอย่างดีได้ประมาณ 3-5 ครั้ง ซึ่งหากคิดค้นต้นทุนค่าก่อสร้างต่อหน่วยต่ออายุการใช้งานที่คุ้มทุนแล้ว จะมีราคาค่าก่อสร้างเฉลี่ยที่ 30,573.41 บาทต่อหน่วยเท่านั้นตลอดจนทำการทดสอบรอยต่อรับแรงดึงของรอยเชื่อม พบว่าค่ากำลังดึงประลัยของรอยต่อจากการเชื่อมมีค่ามากกว่า 3,217 กิโลกรัม โดยมีค่าความปลอดภัยของการเชื่อมมากกว่า 2.23 เท่า ตามข้อกำหนดอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ (AISC/ASD/AWS) และมาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
ชมรมวิศวกรรมโยธา. เสาเข็มและระบบพื้นสำเร็จรูป.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521.
ชวลิต นิตยะ เอกสารประกอบการสอนวิชา Industrialized building. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528.
ปฏิกร ณ สงขลา. อีกมุมหนึ่งกับหลังคาโลหะ. อาษา.ตุลาคม -พฤศจิกายน 2544: 70 -72.
ประสาน ศรีศุภชัยยา. สภาพปัจจุบันและ ความคาดหวังเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยชั่วคราวเละถาวรของผู้ใช้แรงงานก่อสร้ง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาเคมีการ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
ปรีชา เรือจันทร์. น้ำฝน น้ำฟ้า น้ำตา น้ำก้อ.พิมพ์ครั้งที่ 2, ราชบุรี : ธรรมรักษ์การพิมพ์, 2544.
พิชิต สุวรรณประกร. ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ฝ่ายนโยบายและแผน ประจำสำนักเลขาธิการสภากาชาดไทย,
นงลักษณ์ พงศ์พิสุทธิ. ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานอาสาสภากาชาดไทย สัมภาษณ์.18 ธันวาคม 2549
พิริยเทพ กาญจนคล. Managing Director. สัมภาษณ์,25 รันวาคม 2549
มามี โตบารมีกุล. การศึกษาระบบการก่อสร้างอาคารสำเร็จรูปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล.วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัญญัตภาควิชาวิศวกรรมโยธา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2541.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. การก่อสร้างอาคารระบบอุตสาหกรรม. กรุงเทพๆ. : สถาบัน,2520
สมภพ สุวรรณหงษ์. Vice President, จิรเดช ยิ่งสุทธิพันบุ๊. Market Development Engineer Lysaght PEB, ประมุข ปิยกะพัน. สัมภาษณ์.28 พฤศจิกายน 2549.
สาคร กันธโชติ. การออกเบบเครื่องเรือน.กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2528.
Herz, Rudolph. Architectures data. London : Crosby, Lockwood, Staples, 1975.
Testa Carlo. The Industrialization of Building.New York : Van Nostrand Reinhold, 1959.