Analysis of Chemical Concentration using Electric Capacitive Variation Characteristic

Main Article Content

นรินทร์ ธรรมารักษ์วัฒนะ
จักรกฤษณ์ นิยมพงษ์วิวัตน์
วิศรุต ศรีรัตนะ

Abstract

บทความนี้นำเสนอวิธีวิเคราะห์สัญญานในรูปแบบวงจรสมมูลไฟฟ้าทางอุดมคติ ของอุปกรณ์ตรวจรู้ด้วยหลักฐานของการแปลงค่าความจุ โดยใช้ค่าความเข้มข้นของสารละลายทางเคมี ชนิดเอทิลแอลกอฮอล์เป็นกรณีศึกษา การออกแบ และสร้างอุปกรณ์ตรวจรู้มีโครงสร้างเป็นแบบแผ่นโลหะคู่ขนานเคลือบด้วยไนลอนความหนาเฉลี่ย 0.4 mm ยึดด้วยเรซินเพื่อกำหนดระยะห่างของแผ่นคู่ขนานคงที่ 2.5 mm โลหะที่ใช้เป็นสแตนเลสและทองแดง การทดสอบใชสารละลายเอทิลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นตั้งแต่ 95% จนถึง 5% และเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นครั้งละ 10% ด้วยการเจือจางของน้ำกลั่นภายใต้การควบคุมอุณหภูมิ (23C) ความถี่ทดสอบเปลี่ยนแปลงครั้งละ 500 Hz ตั้งแต่ 100 Hz จนถึง 2 kHz ผลการเปลี่ยนแปลงค่าความจุจะนำไปเปรียบเทียบกับวงจรไฟฟ้าที่ได้จากเครื่องมือวัด R-L-C มาตรฐาน ยี่ห้อ Good Will รุ่น CTR เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติเปรียบเทียบกันระหว่างโลหะสองชนิดที่ใช้ทำเป็นแผ่นตัวนำและระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างแผ่นตัวนำคู่ขนานตามลำดับ การออกแบบในบทความนี้เน้นถึงวิธีการที่ไม่ซับซ้อน มีราคาถูก มีความถูกต้องแม่นยำและมีความน่าเชื่อถือ

Article Details

How to Cite
ธรรมารักษ์วัฒนะ น. ., นิยมพงษ์วิวัตน์ จ. ., & ศรีรัตนะ ว. . (2007). Analysis of Chemical Concentration using Electric Capacitive Variation Characteristic. Journal of Engineering, RMUTT, 10, 10–15. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/242222
Section
Research Articles

References

เบญมาศ ศิลาย้อย, กล้วย, ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 2534

เกรียงศักดิ์ จิบกระโทก, นพรัตน์ บุญทรัพย์,การศึกษาวิธีการทำแห้งและสมบัติการเป็นฉนวนกันความร้อนของกาบกล้วย, ปริญญานิพนธ์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งทอ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, 2546