การพัฒนาวัสดุทดแทนพีวีซีเหลวด้วยน้ำยางธรรมชาติในกระบวนการจุ่มโดยใช้แม่พิมพ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาวัตถุดิบทดแทนพีวีซีด้วยน้ำยางธรรมชาติในกระบวนการจุ่มโดยใช้แม่พิมพ์ โดยทำการศึกษาการเตรียมน้ำยางพรีวัลคาไนซ์ที่มีการแปรปริมาณสารตัวเติม 2 ชนิด คือแคลเซียมคาร์บอเนตและเคลย์ ในปริมาณอย่างละ 0,5,7.5,10,12.5,15 phr แล้วทำการศึกษาสมบัติเชิงกลสมบัติทางกายภาพ สมบัติทางไฟฟ้า และผลของการขึ้นรูปต่อความหนาของผลิตภัณฑ์ จากการศึกษาพบว่าสารตัวเติมที่เหมาะสมคือ ปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนต 10 phr และเคลย์ 15 phr ให้ค่าสมบัติเชิงกลได้แก่ ความทนทานต่อแรงดึง การยืดตัว ณ จุดขาด 300% Modulus ความทนทานต่อการฉีกขาดและความแข็ง คือ 20.12 MPa, 739.02%, 2.2 MPa, 26.63 N/mm. และ 62.8 Shore A ตามลำดับ ให้ปริมาณความหนาแน่นของพันธะเชื่อมขวาง 0.28 mole/cm[superscript3] และให้ค่าสมบัติทางไฟฟ้า ได้แก่ความต้านทานเชิงปริมาตร ความต้านทานเชิงพื้นผิว และค่าคงที่ไดอิเล็กทริก คือ 3.2410[superscript9] /cm, 4.3210[superscript9]และ3.10 ตามลำดับ จากนั้นนำมาขึ้นรูปเป็นปลิตภัณฑ์โดยจุ่มที่เวลา 50 วินาที โดยทำการจุ่ม 4 ครั้ง อบที่อุณหภูมิ 90 เป็นเวลา 30 นาที
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
พงษ์กร แซ่อุย, 2547. ยาง ชนิด สมบัติ และการใช้งาน. พิมพัดรั้งที่2, กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยีโลหะเละวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
พงษ์ธร แซ่อย, 25ร0. ยาง กระบวนการผลิตและการทดสอบ. กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยี โลหะเละวัสดุเหงชาติ (เอ็มเทค)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี.
พรพรรณ นิธิอุทัย, 2535. เทคนิคการออกสูตรยาง.คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร, 2545. คู่มือเทคโนโลยียาง. ม.ป.ท.
นิลุบล ผือกบัวขาว, 250. "สมบัติเชิงกลและสัณฐานวิทยาของพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูงที่ผ่านกระบวนการขึ้นรูปใหม่โดยมีแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นสารเติมแต่ง".สาขาวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้พระนครเหนือ
พงษ์ธร แซ่อุย, 2550. สารเคมียาง. พิมพ์ครั้งที่2. ปทุมธานี :สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เสาวรจน์ ช่วยจุลจิตร์. ม.ป.ป. สมบัติของพอลิเมอร์. ม.ป.ท.ภาควิชาวัสดุศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย