An application of polycationic agent to improve the dyeing behavior of direct dyes on cotton fabric
Main Article Content
Abstract
การย้อมผ้าฝ้ายด้วยสีไดเรกท์แบบจุ่มแช่ ต้องใช้อิเล็กโตรไลท์ (เกลือ) จำนวนมากเพื่อลดประจุบนผิวของเส้นใย นอกจากนี้อิเล็กโตรไลท์ปริมาณสูง (40-100 กรัม/ลิตร) ที่ใช้ในการย้อม อาจส่งผลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและต้นทุนในการบำบัดน้ำมากขึ้น ผู้วิจัยจึงเกิดแนวคิดศึกษาการปรับปรุงพฤติกรรมการย้อมสีไดเรกท์บนผ้าฝ้ายโดยใช้สารพอลิแคทอิออนิก เพื่อเพิ่มสมบัติการดูดซึมและความคงทนของสี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าการตกแต่งฝ้าฝ้ายด้วยสารพอลิแคทอิออนิกช่วยเพิ่มความสามารถในการย้อมสีไดเรกท์ภายใต้ภาวะที่เหมาะสม เช่น การสร้างประจุบวกบนเส้นใย ซึ่งสามารถย้อมได้โดยไม่ต้องทิ้งน้ำจากการตกแต่งและไม่จำเป็นต้องใช้อิเล็กโตรไลท์ ทำให้เกิดความประหยัด จากผลการทดลองเมื่อเปรียบเทียบระหว่างผ้าฝ้ายที่ผ่านการตกแต่งและผ้าฝ้ายที่ไม่ได้ผ่านการตกแต่ง พบว่าสารพอลิแคทอิออนิกทำให้เกิดรูปแบบการย้อมที่แตกต่างออกไป ทำให้สีย้อมผนึกติดบนเส้นใยด้วยแรงทางประจุ ทำให้ผ้าที่ผ่านการตกแต่งด้วยสารพอลิแคทอิออนิกมีการดูดซึมและความเข้มสีดีกว่าผ้าที่ไม่ได้ผ่านการตกแต่ง แม้ว่าจะทำการย้อมโดยปราศจากสารอิเล็กโตรไลท์และยังมีสมบัติความคงทนของสีดีขึ้น
Article Details
The manuscript, information, content, picture and so forth which were published on Frontiers in engineering innovation research has been a copyright of this journal only. There is not allow anyone or any organize to duplicate all content or some document for unethical publication.
References
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ, เอกสารประกอบ การอบรมหลักสูตรวิทยาการฟอกย้อมสิ่งทอ สีไดเรคท์, กลุ่มงานเทคโนโลยีสิ่งทอเคมีสิ่งทอ)ส่วนอุตสาหกรรมสิ่งทอ. มปป.
Mehmet Kanik and Peter J. Hauser. 2004.Printing Cationized Cotton with Direct dye.Textile Research Journal (Electronic): pp. 43-50.Available: SAGE Publication/Textile Research Journal(17 June 2007).
Nahed S.E. Ahmed, 2004. 'The Use of sodiumedate in the dyeing of cotton with reactivedyes. Dyes and Pigments(Electronic): pp. 221-225. Available: Elsevier Science Ltd.!Sciencedirect(22 December 2006).
ดร.กวีศรีกูลกิจและ นายพรชัยสันติเฟื่องกุล2543.การย้อมผ้าฝ่ายด้วยสีแคทอิออนิกรีแอคทีฟโดยไม่อาศัยเกลือ.Colourway . ปีที่ 5.ฉบับที่ 27: หน้า 13-17.
S.M. Burkinshaw et al. 2000. The use of dendrimers to modify the dyeing behaviour of reactive dyes on Cotton. Dyes and Pigment(Electronic): pp. 261-267 Available:Elsevier Science Ltd./sciencedirect (17 June 2007).
คร.กวี ศรีกูลกิจ.2543. การดัดแปรสมบัติการรับลีย้อมรี่แอคทีฟในชั้นตอนการเตรียมผ้าฝ้าย.Colourway.ปีที่ 6. ฉบับที่ 28 : หน้า 32-36.
กาวี ศรีกูลกิจ และ ปภากิดา พรสุริยะศักดิ์.2542. ทางเลือกใหม่ของการย้อมเชลดูโถสด้วยสีรีแอคทีฟในสภาวะไรด่าง. Colourway .ปีที่ 4 ฉบับที่ 20: หน 26-29.
M. Subramanian Senthil Kannan et al. 2006.Influence of Cationization of Cotton on Reactive Dyeing. Journal of Textile and Apparel Technology and management (Electronic).Vol. 5, pp. 1-16. Available: NC STATE UNIVERSITY/JTATM (22 December 2000)