The distributed force measuring set for personal body armor testing

Main Article Content

นะรา เฉลิมกลิ่น
ฉัตรชัย ศุภพิทักษ์สกุล

Abstract

บทความนี้นำเสนอการออกแบบชุดวัดการกระจายแรงสำหรับทดสอบเสื้อเกราะกันกระสุนประเภท เกราะอ่อนที่ระดับ IIA ในการป้องกันกระสุน ขนาด 9 มิลลิเมตร มวล 8.0 กรัม ที่ความเร็วกระสุน 314 เมตร ต่อวินาที ตามมาตรฐานของ National Institute of Justice-0101.04 (NIJ Standard- 0101.04) โดยใช้ทรานสดิวเซอร์วัดแรงที่ได้ออกแบบ ซึ่งประกอบด้วยกระบอกสูบทำหน้าที่รับแรง ร่วมกับฮอลล์เอ็ฟเฟคทเซ็นเซอร์ (Hall Effect Sensor) ที่มีราคาถูก  ตอบสนองเร็ว และเป็นเชิงเส้นในส่วนการรับรู้ ทำหน้าที่ในการแปลงค่าแรงกระแทกให้เป็นแรงดันไฟฟ้า โดยแรงดันไฟฟ้าจากทรานสดิวเซอร์ที่เป็นสัญญาณอนาลอกจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอลด้วย Data Acquisition และส่งผ่านไปยังส่วนบันทึกค่า ประมวลผล และแสดงผลในคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรม Lab VIEW ซึ่งการกระจายแรงกระแทกของเสื้อเกราะที่เกิดจากกระสุนจะแสดงในรูปของกราฟิกสองและสามมิติเพื่อแสดงการกระจายแรง และการยุบตัวของเสื้อเกราะ โดยอาศัยการเปรียบเทียบกับวิธีมาตรฐาน NIJ Standard-0101.04 ที่ทำการทดสอบบนดินน้ำมันชนิด Roma Plastilina No.1 ผลที่ได้จากการทดลองยิงด้วยกระสุนปืนจริง ชุดวัดการกระจายแรงที่ออกแบบสามารถ แสดงผลกราฟฟิกของการกระจายแรงและการยุบตัวของเสื้อเกราะกันกระสุนได้เป็นที่น่าพอใจ

Article Details

How to Cite
เฉลิมกลิ่น น. ., & ศุภพิทักษ์สกุล ฉ. (2008). The distributed force measuring set for personal body armor testing. Frontiers in Engineering Innovation Research, 12, 59–69. retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/242204
Section
Research Articles

References

[1] John Ashcroft, Deborah J. Daniels and Sarah V. Hart, 2001. Selection and ApplicationGuide to Personal Body Armor. The National Institute of Justice's National Law Enforcement and Corrections Technology Center Lance Miller.
[2] นะรา เฉลิมกลิ่น และ ฉัตรชัย ศุภพิทักษ์สกุล,2551. การออกแบบทรานสดิวเซอร์วัดแรง โดยใช้ฮอลล์เอ็ฟเฟคทเซ็นเซอร์. การประชุมเครือข่ายวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี
[3] นะรา เฉถิมกลิ่น และ ฉัตรชัย ศุภพิทักษ์สกุล,2552. การประยุกต์ใช้ฮอลล์เอ็ฟเฟคเซ็นเซอร์ในการออกแบบทรานสดิวเซอร์วัดแรง. การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ครั้งที่7 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
[4] ผศ.จรัส บุญยธรรมา, 2543. ฟิสิกส์ระดับมหาวิทยาลัยภาคกลศาสตร์. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น. หน้า 267-297.
[5] วรพงศ์ ตั้งศรีรัตน์, 2548. เซ็นเซอร์และทรานสดิวเซอร์:ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ในระบบการวัดและระบบควบคุม. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น). หน 51-63.
[6] สมศักดิ์ กีรติวุฒิเศรษฐ์, 2546. หลักการและการใช้งานเครื่องมือวัดอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น). หน้ 17-1~17-8.
[7] David S. Nyce, 2004. Linear Position Sensors Theory and Applications. USA: Wiley-interscience.
[8] Joe Gilbert and Ray Dewey. Linear Hall-Effect Sensors. Allegro Micro Systems, Inc.