การศึกษาค่าความร้อนของเชื้อเพลิงก้อนจากของผสมระหว่างกากไขมันกับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

Main Article Content

สำรวม โกศลานันท์
ณัฐกานต์ นิตยพัธน์
พิพัฒน์ ปราโมทย์
ณัฐสิทธิ์ พัฒนะอิ่ม

บทคัดย่อ

ไขมันจากพืชและสัตว์มีความสามารถในการจุดติดไฟได้ น้ำมันพืชโดยทั่วไปให้ค่าพลังงานความร้อน ประมาณ  35,000kJ/kg ไขมัน และน้ำมันจากสัตว์ให้ค่าพลังงานความร้อนประมาณ 37,000kJ/kg ส่วนน้ำมันเตา (Burner fuel oil no.2) ให้ค่าพลังงานความร้อนประมาณ 39,000 kJ/kg  เห็นได้ว่ากากไขมันจากบ่อดักไขมันของสถานที่จำหน่ายอาหาร ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างไขมันพืช  และสัตว์จะมีค่าพลังงานความร้อนต่ำกว่าน้ำมันเตาเล็กน้อย อย่างไรก็ตามการผสมวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอาจช่วยเพิ่มค่าพลังงานความร้อนขึ้นได้ นอกจากนี้วัสดุเหล่านี้ยังมีส่วนช่วยทำให้ไขมันเหล่านี้จับตัวเป็นก้อนได้ด้วย ซึ่งเชื้อเพลิงที่อยู่ในรูปของแข็งนั้น มีความสะดวกในการขนส่ง และการอุปโภคตามครัวเรือนมากกว่าเชื้อเพลิงเหลว งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาค่าความร้อนของเชื้อเพลิงก้อน จากของผสมระหว่างกากไขมันจากบ่อดักไขมันของสถานที่จำหน่ายอาหารกับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้จำเป็นต้องทำการกำจัดน้ำส่วนใหญ่ที่อาจปะปนมากับกากไขมัน ก่อนนำไขมันมาผสมกับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร และกำจัดน้ำในก้อนเชื้อเพลิงที่ทดลองผลิตได้ให้มากที่สุด เพื่อให้ก้อนเชื้อเพลิงนี้สามารถจุดไฟติดได้ต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
โกศลานันท์ ส. ., นิตยพัธน์ ณ. ., ปราโมทย์ พ. ., & พัฒนะอิ่ม ณ. . (2008). การศึกษาค่าความร้อนของเชื้อเพลิงก้อนจากของผสมระหว่างกากไขมันกับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร. แนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม, 12, 41–47. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/242202
บท
บทความวิจัย

References

[1] กัญจนา บุณขเกียรติ. เชื้อเพลิงและการเผาไหม้.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
[2] ประเสริฐ เทียนนิมิตร และคณะ. เชื้อเพลิงเละสารหล่อลื่น.กรุงเทพฯ:บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด (มหาชน) 2539
[3] สำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน. การอนุรักษ์พลังงานในอุตสาหกรรม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2538.
[4] ASHRAE. Pocket Guide for Air Conditioning,Heating, Ventilation, Refrigeration. SI ed.USA: The American Society of Heating,Refrigerating and Air-Conditioning Engineers,Inc., 1993.
[5] Bohl, Willi., Technische Stromungslehre.Germany: Vogel Verlag und Druck Gmbh,1971.
[6] Borgnakke, Claus. and Richard E. Sonntag.Thermodynamic and Transport Properties.USA: John Wiley & Sons, Inc. 1997.
[7] Parr. Analytical methods for Oxygen bombs.USA: Parr Instrument Company.