การจำลองการถ่ายโอนความร้อนภายในแผงท่อให้ความร้อนโดยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เสนอการคำนวณเชิงตัวเลขโดยมีระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ เพื่อหาการกระจายอุณหภูมิที่ตำแหน่งต่างๆ ภายในแบบจำลองของแผงท่อให้ความร้อน โดยแบบจำลองสำหรับการวิจัยได้จำลองแบบมาจากชุดทดสอบแผงท่อให้ความร้อนขนาด 80x282.5x350 มิลลิเมตร ที่มีลักษณะของกลุ่มท่อภายในจัดวางเรียงแนบแนวเหลื่อมกันขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร จากนั้นทำการเขียนโปรแกรมไฟไนจ์เอลิเมนต์ เพื่อหาค่าอุณหภูมิตามตำแหน่งที่ต้องการ สำหรับการกำหนดเงื่อนไขขอบเขตแก่แบบจำลองนั้น กำหนดให้อุณหภูมิที่ทางเข้ามีค่าเท่ากับ 20 องศาเซลเซียส 25 องศาเซลเซียส 30 องศาเซลเซียส และ 35 องศาเซลเซียสตามลำดับ ส่วนภายในแบบจำลองกำหนดอุณหภูมิที่ผิวนอกของแผงท่อให้ความร้อนคงที่ไว้ที่ 50 องศาเซลเซียส 60 องศาเซลเซียส 70 องศาเซลเซียส และ 80 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ส่วนผนังหุ้มฉนวนโดยรอบ (ไม่มีการสูญเสียความร้อน) จากผลการวิจัยจะพบว่าอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากมีผลทำให้เกรเดียนท์ของอุณหภูมิมีค่าสูงขึ้นและลักษณะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิภายในแบบจำลองนั้นมีลักษณะเพิ่มขึ้นสู่ภาวะสมดุล นั่นคือค่าของอุณหภูมิที่บริเวณทางออกของแผงท่อให้ความร้อนจะมีค่าเพิ่มตามลำดับและมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อเวลาผ่านไปค่าของอุณหภูมิภายในของแบบจำลองจะมีค่าคงที่
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
A. Bejan, " 'Convection Heat Transfer,"Second Edition, Singapore, John Wiley, 1995.,pp. 523-525.
F.P. Incropera and D.P. Dewitt,"'Introduction to Heat Transfer," Fourth Edition,United States of America, John Wiley & Sons Inc, 2002.
F.C. McQuiston and J.D. Parker,"Heating Ventilating and Air Conditioning,"Fourth Edition, United States of America, John Wiley & Sons Inc, 1994.
ปราโมทย์ เดชะอำไพ, ไฟไนต์เอลิเมนต์ในงานวิศวกรรม,กรุงเทพๆ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537.
หน้า 301.