ออกแบบและสร้างเครื่องคั่วงางอก

Main Article Content

สุนัน ปานสาคร
จตุรงค์ ลังกาพินธุ์
ศิริรัตน์ ทักแก้ว
วรรณิกา ซังฮี้
ธวัสชัย วงษ์ชมพู

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ ออกแบบและสร้างเครื่องคั่วงางอกแบบถังหมุนความจุ 1 กิโลกรัม ตัวเครื่องประกอบด้วย ถังคั่วทรงกระบอก แบบสองชั้นภายในกรุด้วยฉนวนใยหินกันความร้อน มีเส้นผ่านกลาง 38.4 เซนติเมตรและยาว 35.5 เซนติเมตร แหล่งพลังงานความร้อนเป็นฮีตเตอร์แบบครีบ ขนาด 1,000 วัตต์จำนวน 2 หลอด ติดตั้งฝั่งตรงข้าม เพื่อการกระจายพลังงานนอกจากนี้ภายในติดตั้งตะแกรงคั่วขึ้นรูปทรงกระบอกทำจากสแตนเลสขนาดรูตะแกรง 0.5 มิลลิเมตร ขั้นตอนการออกแบบเครื่องคัวงางอกมีพื้นฐานจากการทดลองคัวงางอกในกระทะทำให้ความร้อนก่อน และทำการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องคั่วงางอก โดยพิจารณาคุณสมบัติทั้งทางกายภาพและโภชนาการของการเมล็ดงาที่ได้ซึ่งพบว่าเครื่องคั่วสามารถสร้างความร้อนได้มากกว่า 100 องศาเซลเซียส และสามารถควบคุมอุณหภูมิของเมล็ดงางอกในขณะทำการคั่วระดับต่างๆให้มีความสม่ำเสมอได้ ตัวตะแกรงคั่วสามารถปรับความเร็วรอบได้ตั้งแต่ 1-21 รอบต่อนาที ความเร็วรอบที่เหมาะสมสำหรับการคั่วเมล็ดงางอกคือ 16 รอบต่อนาที กรณีการทดสอบการคั่วเมล็ดงางอกที่ระดับอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส พบว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้สุกพอดี เมล็ดเต่ง และมีกลิ่นหอม นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อเพิ่มเวลาในการคั่วให้นานขึ้นส่งผลต่อการลดลงของความชื้น ค่าความขาว ในขณะที่ค่าความเป็นที่แดง (a-value) ค่าความเป็นสีเหลือง (b-value) และค่าความเป็นสีน้ำตาล (Browning index) มีค่าไม่เปลี่ยนแปลง หากพิจารณาปริมาณสาร GABA พบว่ามีแนวโน้มลดลงเมื่ออุณหภูมิในการคั่วสูงขึ้นและเวลานาน อย่างไรก็ตามบนพื้นฐานของกระบวนการคั่วพบว่า ปริมาณสาร GABA ในเมล็ดงางอกหลักการคั่ว ยังคงสูงกว่าเมล็ดงาที่ไม่ผ่านการงอก

Article Details

How to Cite
ปานสาคร ส., ลังกาพินธุ์ จ. ., ทักแก้ว ศ. ., ซังฮี้ ว. ., & วงษ์ชมพู ธ. . (2011). ออกแบบและสร้างเครื่องคั่วงางอก. แนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม, 2, 51–59. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/242136
บท
บทความวิจัย

References

Kawabata, K., Tanaka, T, Murakami, T,, Okada, T,Murai, H., Yamamoto, T,, Hara,A., Shimizu.

M., Yamada, Y., Matsunaga, K., Kuno, T,Yoshimi, N., Sugie, S., and Mori, H. 1999.Dietary prevention of azoxymethane-induced colon carcinogenesis with rice-germ in F344 rats. Carcinogenesis (Lond.), 20: 2109-2115.

Komatsuzaki, N., Tsukahara, K., Toyoshima, H,Suzuki, T., Shimizu, N., and Kimura, T. 2003.

Effect of soaking and gaseous phase sprout processing on the GABA content of pregerminated brown rice. The American Society of Agricultural and Biological Engineer. Paper number: 036073.

Oh, S.H., Soh, J.R., and Cha, Y.S. 2003. Germinated brown rice extract shows a nutraceutical effect in the recovery of chronic alcohol—related symptoms. Journal Medicinal Food. 6:115-121.

Hemalatha, K.P.J. and Prasad, D.S. 2003. Changes in the metabolism of protein during germination of sesame (Sesamum indicum L.) seeds. Plant Foods for Human Nutrition. 58:1-10.

Anonymous. 1998. Sesame Seeds :http://homecooking.about.com/library/archivel

blspice18.htm

พิสิษฐ์ เตชะรุ่งไพศาล อริยากรณ์ พงษ์รัตน์. 2549.เครื่องสกัดน้ำมันงา วิศวกรรมสาร มข. ปีที่ 33

ฉบับที่รหน้ำร6ร-6 จำนวน 12 หน้า.

Sirato, Y.s,, Katsuta, M,, Okuyama, Y., Takahashi,Y, and Ide, T. 200 1. Effect of sesame seeds rich in sesamolin on fatty acid oxidation in rat liver.Journal Agricultural Food Chemistry. 49(5):

Ham, T.S, Park, S.J, and Lo, Y.M. 2009. Effects of germination on chemical composition and functional properties of sesame (Sesamum indicum L.) Seed. Bioresource Technology.

:1643-1647.

Kyauk, H., Hopper, N.W.and Brigham, R.D.1995.Effect of temperature and presoaking on

germination, root length and shoot length of sesame (Sesamum indicum L.). Environmental and Experimental Botany. 35(3): 345-351.

E1-Adaway, T.A., and Mansour, E.H. 2000.Nutritional and physicochemical evaluations

of tahina (sesame butter) prepared from heattreated sesame seeds. Journal of Science of Food and Agricultural. 80: 2005-2011.

AOAC. 1990. Official Methods of Analyses of the Association of Official Analytical Chemists. 15th ed. Association of Official Analytical Chemists.

Mustafa, A., Aman, P., Andersson, R., and Kamal,E.A. 2007. Analysis of free amino acid in cereal products, Food Chemistry. 105(1): 317-324.

Aralan, N,, and Togrul, H. 2005. Moisture sorption isotherms for crushed chillies. Biosystems Engineering. 90: 47-61.

Hussain,S.R., Terao, J,, and Mathuushita, S. 1986.Effect of browning products of phospholipids on autoxidation of methyly lioenets. Journal of American oil Chemist Society. 63:1457-1560.

Kahyaoglu, T., and Kaya, S. 2006. Modeling of moisture, color and texture changes in sesame seeds during the conventional roasting. Journal of Food Engineering, 75: 167-177.

Avila, I.M.L.B., and Silva, C.L.M. 1999. Modeling kinetics of thermal degradation of colour in peach puree. Journal of Food Engineering.39:161-166.

อริยาภรณ์ พงษ์รัตน์ และ พิสิษฐ์ เตชะรุ่งไพศาล.2552. เครื่องคั่วงา. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัย

ขอนแก่น,มีนาคม 2552. 14(3): 275-282.