การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องทอดโดยเทคนิคการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน กรณีศึกษา โรงงานอาหารกึ่งสำเร็จรูป

Main Article Content

อุเทน เฉลยโฉม
สุรัตน์ ตรัยวนพงศ์
ระพี กาญจนะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มผลผลิตของผลิตภัณฑ์ไก่ปรุงสุก ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องทอดเนื่องจากผลผลิตของเครื่องทอดไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งตั้งไว้ที่ 120,000 กิโลกรัมต่อเดือน กรณีศึกษา บริษัทยังผลิตได้เฉลี่ย 85,427 กิโลกรัมต่อเดือน คิดเป็น 71.2% เท่านั้น


                การวิจัยครั้งนี้ได้เริ่มเก็บข้อมูลการผลิตและการทำงานของเครื่องทอดไก่ปรุงสุกของบริษัทกรณีศึกษา และทำการวิเคราะห์ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องทอด พบว่าเครื่องทอดมีค่าประสิทธิผลโดยรวมอยู่ 60.73% ซึ่งเป็นค่าที่ค่อนข้างต่ำ จึงได้วิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เครื่องเกิดเหตุขัดข้องโดยการนำ พาเรโตมาเป็นเกณฑ์ตัดสินในการเลือกหัวข้อของปัญหา มาทำการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาโดยใช้การวิเคราะห์แบบ Why-Why


                หลังจากทราบถึงสาเหตุของปัญหาแล้ว  จึงมีการกำหนดแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องและดำเนินการตามแผนที่กำหนด เพื่อลดความสูญเสียจากเหตุขัดข้องและประเมินประสิทธิภาพการนำแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันมาใช้ ด้วยการวิเคราะห์ค่าความพร้อมใช้งานของเครื่องทอดและการวัดค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องทอดผลก่อนและหลังดำเนินการปรับปรุงตามแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน พบว่าประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องทอดไก่ปรุงสุกเพิ่มขึ้นคิดเป็น 1.6 เปอร์เซ็นต์ ค่าความพร้อมใช้งานของเครื่องทอดเพิ่มขึ้นคิดเป็น 1.60 เปอร์เซ็นต์ และค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องทอดเพิ่มขึ้นคิดเป็น 32.13 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ส่งผลให้ผลผลิตเนื้อไก่ปรุงสุกเพิ่มขึ้น 39,038 กิโลกรัม/เดือน หรือคิดเป็น 31.3 เปอร์เซ็นต์

Article Details

How to Cite
เฉลยโฉม อ. ., ตรัยวนพงศ์ ส. ., & กาญจนะ ร. . (2015). การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องทอดโดยเทคนิคการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน กรณีศึกษา โรงงานอาหารกึ่งสำเร็จรูป. แนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม, 2, 21–33. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/242037
บท
บทความวิจัย

References

เกียรติบัลลังก์ คิดหมาย และระพี กาญจนะ 2556, การ ลดความสูญเสียของขั้นตอนการเชื่อมครีบ ระบายความร้อนโดยใช้เทคนิคประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร กรณีศึกษาสายการผลิตเฟรม การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2556 พัทยา ชลบุรี

ศักดา ปรีชาวัฒนสกุล 2550, การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเครื่องทอผ้าโดยการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Hitoshi Ogura, Why-Why Analysis เทคนิคการ วิเคราะห์อย่างถึงแก่นเพื่อปรับปรุงสถาน ประกอบการโดยเริ่มต้นจากคำว่าทำไม? สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.

รัฐกร อุดมสุข 2553, การปรับปรุงประสิทธิผล โดยรวมของเครื่องในกระบวนการผลิตอิฐทนไฟภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการคณะ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธานี อ่วมอ้อ 2545, การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม สถาบันเพิ่มผลผลิต: กรุงเทพ

พูลพร แสงบางปลา 2542, การเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตโดยการบำรุงรักษา พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เษกสรร สิงห์ธนู 2550, การบำรุงรักษาเชิงป้องแผนงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรกรณีศึกษาสายการบรรจุน้ำยาทำความสะอาดสุขภัณฑ์ ภาควิชาวิศวกรรมการผลิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ประเสริฐ เดชนคริทร์ 2550, การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยเทคนิค TPM กรณีศึกษาโรงงานอาหารกึ่งสำเร็จรูป ภาควิชาวิศวกรรมการผลิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ