การออกแบบและสร้างเครื่องแยกเส้นใยลูกตาลสุก
Main Article Content
บทคัดย่อ
เครื่องแยกเส้นใยลูกตาลสุกถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อลดเวลาและแรงงานในการแยกเส้นใยจากเมล็ดตาลสุก เครื่องต้นแบบประกอบด้วย โครงสร้างเครื่อง ชุดแยกเส้นใยลูกตาลสุกมีลักษณะเป็นตะแกรงหมุนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 400 มิลลิเมตร ระบบส่งกำลัง และใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 1 แรงม้าเป็นต้นกำลัง การทำงานของเครื่องเริ่มจากผู้ควบคุมเครื่องป้อนลูกตาลสุกที่ผ่านการยีเนื้อตาลแล้วลงในช่องป้อนทางด้านหน้าของเครื่องเข้าสู่ชุดแยกเส้นใย ซึ่งเมล็ดตาลจะหมุนทำให้เส้นใยที่ติดกับเมล็ดตาลถูกตัดด้วยใบมีดที่อยู่ภายในชุดแยกเส้นใย โดยเส้นใยที่ถูกตัดแยกแล้วจะไหลลงช่องทางออกทางด้านล่างของเครื่อง จากผลการทดสอบพบว่าเครื่องต้นแบบสามารถทำงานได้ดีที่ความเร็วรอบของชุดแยกเส้นใยลูกตาล 400 รอบต่อนาที มีเปอร์เซ็นต์การแยกเส้นใยลูกตาลสุก 94.3±1.5% ความสามารถในการทำงาน 4.8±0.3 กิโลกรัมต่อชั่วโมง และมีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า 0.68 กิโลวัตต์-ชั่วโมง จากการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมพบว่าเมื่อใช้เครื่องต้นแบบทำงาน 1,440 ชั่วโมงต่อปี มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของเครื่อง 9 บาทต่อกิโลกรัม ระยะเวลาคืนทุน 6 เดือน และการใช้งานที่จุดคุ้มทุน 164 ชั่วโมงต่อปี
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
พจน์ สัจจะ, 2540. ชุดสารคดีอาหาร: โลกวัฒนธรรมของอาหาร. สำนักพิมพ์แสงแดด, กรุงเทพฯ. 175 น.
Wikipedia. ตาล, [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://th.wikipedia.org (15 กุมภาพันธ์ 2558).
ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ, ตาลโตนด. เทคโนโลยีชาวบ้าน, หนังสือพิมพ์มติชน, [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://info.matichon.co.th/techno/ (15 มีนาคม 2558).
พิทักษ์ อุปัญญ์ และ จันทร์เพ็ญ อุปัญญ์. 2553. รายงานวิจัยฉบับสมบรูณ์ การพัฒนาเส้นใยตาล ในเชิงอุตสาหกรรมสิ่งทอ. สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ, กรุงเทพฯ.
พิทักษ์ อุปัญญ์ และ จันทร์เพ็ญ ชุมแสง, 2554, รายงานการวิจัยการใช้เส้นด้ายใยลูกตาล มาพัฒนาคุณภาพผ้าทอพื้นบ้าน ทุนอุดหนุนการวิจัยประเภท โครงการสนับสนุนการวิจัยขยายผลสู่การปฏิบัติและพัฒนาต่อยอดงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ จากสานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
จันทร์เพ็ญ ชุมแสง และพิทักษ์ อุปัญญ์, 2556. รายงานการวิจัยการถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างมูลค่าเพิ่มวัสดุเหลือทิ้งจากตาลโตนดแบบมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการจัดการองค์ความรู้ภาคปฏิบัติการชุมชน.
[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://www.thai-explore.net/file_upload/submitter/file_doc/.pdf (15 กุมภาพันธ์ 2558).
รัตนพล มงคลรัตนาสิทธิ์, 2558. การประยุกต์ใช้เส้นใยจากผลตาลสำหรับสิ่งทอเทคนิค, [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://www.nstda.or.th/nac2015/download/presentation/April2/CC404-Rattanaphol.pdf (15 ธันวาคม 2558).
จตุรงค์ ลังกาพินธุ์, สุนัน ปานสาคร, ภูรินทร์ อัครกุลธร, สุกฤษฎิ์ สร้อยแม้น และศุภณัฐ สร้อยแม้น. 2559. การออกแบบและสร้างเครื่องแยกเนื้อตาลสุก. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน).
Krutz, G., Thomson, L., Claar, P. 1994. Design of Agricultural Machinery. John Wiley and Sons. New York Chicheter Brisbne, Toronto, Sigapore. 472 P.
Shigley, J.E., Mischke, C.R. 1989. Mechanical Engineering Design. 5th Edition, McGraw-Hill Book Company, USA. 779 P.
จตุรงค์ ลังกาพินธุ์. 2555. ออกแบบและเขียนแบบวิศวกรรมด้วยโปรแกรม SolidWorks (ฉบับเรียนลัดด้วยตัวเอง). สำนักพิมพ์ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด. 192 น.
Hunt, D. 2001. Farm Power and Machinery. (10th Edition). Ames, Iowa, USA: Iowa State University Press.