การออกแบบและพัฒนาเครื่องทอดหอมเจียว
Main Article Content
บทคัดย่อ
เครื่องทอดหอมเจียวถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการผลิตหอมเจียวให้มีคุณภาพ อำนวยความสะดวก ลดการใช้แรงงาน และลดต้นทุนในการทอดหอมเจียว สำหรับใช้ในวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ที่แปรรูปหอมแดงจำหน่าย เครื่องต้นแบบประกอบไปด้วย โครงสร้างเครื่อง หม้อน้ำมันขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 400 มิลลิเมตร ลึก 200 มิลลิเมตร หม้อตะแกรงทอดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 380 มิลลิเ3มตร ลึก 150 มิลลิเมตร ขนาดรูตะแกรง 2 มิลลิเมตร ชุดใบกวนมีรัศมีการกวน 200 มิลลิเมตร ใช้มอเตอร์ขนาด 25 วัตต์ เป็นต้นกำลัง และใช้ความร้อนจากฮีตเตอร์ ขนาด 2.8 กิโลวัตต์ การทำงานของเครื่องโดยเริ่มจากการเทน้ำมันลงไปในหม้อน้ำมัน ตั้งอุณหภูมิฮีตเตอร์ และรอให้น้ำมันร้อนตามอุณหภูมิที่กำหนด จากนั้นใส่หอมซอยลงในน้ำมัน และทำการเปิดมอเตอร์ใบกวน เมื่อหอมเจียวสุกได้ที่ก็จะยกตะแกรงทอดออกและเทหอมลงตะแกรงสะเด็ดน้ำมัน จากผลการทดลองเครื่องต้นแบบสามารถทำงานได้ดีที่อุณหภูมิการทอด 170 องศาเซลเซียส และที่ความเร็วรอบของใบกวน 45 รอบต่อนาที มีความสามารถในการทอดหอมเจียว 3 กิโลกรัม ด้วยเวลา 28.4 นาที สามารถใช้น้ำมันทอดซ้ำได้ถึง 6 ครั้ง โดยที่ปริมาณสารโพลาร์ไม่เกิน 25 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ได้ผลิตหอมเจียวที่มีคุณภาพ และปลอดภัยต่อผู้บริโภค
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
ข่าว สสว. รับมอบนโยบายส่งเสริมSMEs พร้อมเดินหน้างานปี 2559. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.sme.go.th /th/ index.php/news1/1015-smes-2559 (5 มกราคม 2560).
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.), 2559. รายงานสถานการณ์ วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ปี 2559
Smith, C., Lombard, KA., Peffley, EB. andLiu,W., 2003. Genetic Analysis of Quercetin in onion (Allium cepa L.). The Texus Journal of Agricultureand Natural Resource. No. 16. pp. 24-28
สุกัญญา เดชอดิศัย, 2553. บทความสมุนไพร เรื่องของหอม. ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ข้อมูลการผลิตสินค้าการเกษตร 2558. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.oae.go.th. (5 มกราคม 2560).
วารวิชนี ลอปกุลเกียรต, .วิไล รังสาดทอง, นองนุช ศิริวงศ, 2533. ผลของปจจัยในการทอดตอคุณสมบัติบางประการของขนมขบเคี้ยวที่ไดจากการทอดเพลเลต. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ, ฉบับที่ 3. หน้า 83-95.
จริยา สุขจันทรา, กาลีมะห์ หะมะ, 2551. ผลของน้ำมันที่ใช้ทอดต่อคุณภาพของกล้วยหินฉาบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ฉบับที่ 3. หน้า 11-18.
พิมเพ็ญ พรเฉลิมพงศ์, นิธิยา รัตนาปนนท์. Frying / การทอด. ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0347/frying-การทอด. (15 กุมภาพันธ์ 2560).
นิตยสารฉลาดซื้อ. 2556. Consumer Justice Now! ฉบับที่ 144, ปีที่ 19. หน้า 26-31.
อภิญญา ตันทวีวงศ์, นวพร ต่อมกระโทก, 2555. ปฏิวัติน้ำมันทอดซ้ำ จากก้นกระทะ สู่วาระแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. ศูนย์พัฒนาวิชาการและกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ, กรุงเทพฯ.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข 2547. กำหนดปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันที่ใช้ทอดหรือประกอบอาหารเพื่อการจำหน่าย. ฉบับที่ 283.
Krutz, G., Thomson, L., Claar, P., 1994. Design of Agricultural Machinery.John Wiley and Sons. New York Chicheter Brisbne, Toronto, Sigapore. pp. 472
Shigley, J.E., Mischke, C.R., 1989. Mechanical Engineering Design. Edition, McGraw-Hill Book Company, USA. Pp. 779.
อดิศักดิ์ ฤาชา และ มัติ ศรีหล้า, 2558. เครื่องฝานกล้วยทำกล้วยฉาบ. วารสารเกษตรพระวรุณ. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2. หน้า 136-143.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการใช้ชุดทดสอบอาหาร. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://dmsc2.dmsc.moph.go.th/webroot/BQSF/File/food_safety/document/foodsafety%20manual_fulltext.pdf. (24 กุมภาพันธ์ 2560).
SANSABAY SHOP. ชุดทดสอบสารโพล่าในน้ำมันทอดซ้ำ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.sansabaytwelve.com/f015.php. (24 กุมภาพันธ์2560).
ภาคภูมิ อุณหเลขจิตร, 2559. การศึกษาความสัมพันธ์ระยะเวลาต่อการเกิดสารโพลาร์ในน ้ามันที่ใช้ทอดอาหารประเภทเนื้อและแป้ง. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน, จังหวัดนครราชสีมา. หน้า 401-408.