การสร้างเครื่องย่อยทางปาล์มแบบใบตัดตั้งฉากกึ่งอัตโนมัติขนาดเล็ก

Main Article Content

ปราโมทย์ พูนนายม
ไพบูลย์ แย้มเผื่อน
วรญา วัฒนจิตสิริ
สุรัตน์ ตรันวนพงศ์
กิตติพงษ์ กิมะพงศ

บทคัดย่อ

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานในประเทศไทยและมีพื้นที่เพาะปลูกและปริมาณการปลูกสูงทั่วทั้งประเทศ ด้วยเหตุนี้การบริหารจัดการพื้นที่การเพาะปลูกปาล์มจึงต้องมีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตตามต้องการ กิ่งปาล์มที่ถูกตัดที่มีปริมาณสูงคือหนึ่งในปัญหาปัจจุบันที่ต้องการในการย่อยสลายและนำไปใช้ประโยชน์แต่เป็นไปได้ยากเนื่องจากเครื่องตัดย่อยที่มีขนาดใหญ่เคลื่อนที่เข้ามาในพื้นที่ลูกปาล์มได้ลำบาก ด้วยเหตุผลดังกล่าวโครงการนี้มีจุดประสงค์ในการออกแบบและสร้างเครื่องย่อยทางปาล์มใบตัดตั้งฉากกึ่งอัตโนมัติขนาดเล็กที่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวแปรการตัด เช่น ความเร็วรอบการหมุนของใบตัด จำนวนใบมีด ระยะช่องว่างการตัด และมุมของการเติมทางปาล์มเข้าสู่ใบตัด การทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทำโดยการชั่งนำหนักและวัดขนาดของเศษการตัดทางปาล์ม ผลการทดลองโดยสรุปมีดังต่อไปนี้ เครื่องตัดย่อยทางปาล์มที่ได้จากการออกแบบและสร้างขึ้นมีขนาดกว้าง 1000 มิลลิเมตร ยาว 1000 มิลลิเมตร สูง 1000 มิลลิเมตร ความเร็วรอบในการตัด 100-1000 รอบต่อนาที จำนวนใบมีด 2-6 ใบ ระยะการป้อน 0.5-3.0 มิลลิเมตร และมุมเอียงการป้อน 0-45 องศา ความเร็วรอบของจานตัดที่ให้เศษปริมาณสูงสุด 3,881 กรัมต่อนาที หนา 31.38 มิลลิเมตร คือความเร็วรอบในการตัด 1000 รอบต่อนาที ความหนาของรูปร่างเศษตัดที่ได้จากการทดลองมีค่าลดลงเมื่อความเร็วรอบของการตัดมีค่าเพิ่มขึ้น ความเร็วรอบการหมุนของจานตัดที่เพิ่มขึ้นส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของเศษการตัดทางปาล์ม

Article Details

How to Cite
พูนนายม ป., แย้มเผื่อน ไ., วัฒนจิตสิริ ว., ตรันวนพงศ์ ส., & กิมะพงศ ก. (2018). การสร้างเครื่องย่อยทางปาล์มแบบใบตัดตั้งฉากกึ่งอัตโนมัติขนาดเล็ก. แนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม, 16(1), 33–42. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/241965
บท
บทความวิจัย

References

น้ำอ้อย ศรีประสม และ ธีระ เอกสมทราเมษฐ์, 2551. "สหสัมพันธ์และอัตราพันธุกรรมของลักษณะทางลำต้นในระยะกล้าปาล์มน้ำมัน," วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 6-2, หน้า 109-115.

ประดิษฐ์ อาจชมพู วุฒิชัย สีเผือก และศิริศักดิ์ บริรักษ์ธรกุล, 2556. "การพัฒนาการใช้ทางปาล์มน้ำมันเป็นแหล่งอาหารหยาบสำหรับโคพื้นเมือง," การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จ.กรุงเทพมหานคร. หน้า 79-86.

MGR Online. เร่งปุ๋ยหมักทางปาล์มน้ำมัน ด้วยนวัตกรรมใหม่ จาก มจธ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก www.farmkaset.org (31 กรกฎาคม 2557)

ชีวิตเกษตรครบวงจร. ทางปาล์มน้ำมันใช้เลี้ยงสัตว์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก www.farmkaset.org (20 พฤษภาคม 2557)

เอกรัตน์ โภคสวัสดิ์ และศุภเวทย์ สงคง, 2554. "เครื่องแยกย่อยใบปาล์มน้ามันออกจากทางปาล์มเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง," การประชุมวิชาการ มอบ. วิจัย ครั้งที่ 5, อุบลราชธานี, หน้า 226-234.

ชีวิตเกษตรครบวงจร. การจัดการสวนปาล์มน้ำมัน. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก www.farmkaset.org (31 กรกฎาคม 2557)

บริษัท รักบ้านเกิด จำกัด. วิธีลดต้นทุนอาหารแพะ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก www.rakbankerd.com (20 พฤษภาคม 2557)

Atkins, T. 2006. "Optimum blade configurations for the cutting of soft solids," Engineering Fracture Mechanics, 73, pp. 2523-2531.

Lau, K. H., Mei, D., Yeung, C. F. and Man, H. C. 2000. "Wear characteristics and mechanisms of a thin edge cutting blade," Journal of Materials Processing Technology, 102: 203-207.

Niranatlumpong, P., Sukhonket, C. and Nakngoenthong, J. 2013. "Wear resistant surface treatment of pulverizer blades," Wear, 302: 878-881.

ถนอม ลี้ตระกูล, 2555. "การพัฒนามีดตัดในรถตัดอ้อยเพื่อเปรียบเทียบค่าความแข็ง," การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2555, จ.เพชรบุรี, หน้า 1666-1670.

Horman, I., Busuladžić, I. and Azemović, E., "Temperature Influence on Wear Characteristics and Blunting of the Tool in Continuous Wood Cutting Process," Procedia Engineering, 69: 133-140.

Torres, H., Varga, M., Adam, K. and Badisch, E., 2013. "Wear phenomena in high temperature sheet shearing blades," Wear. 306: 10-16.

จตุรงค์ ลังกาพิมพ์ สุนัน ปานสาคร ภูรินทร์ อัครกุลธร สุกฤษฎิ์ สร้อยแม้น และศุภณัฐ สร้อยแม้น, "การออกแบบและสร้างเครื่องแยกเนื้อตาลสุก," วารสารวิศวกรรมศาสตร์ราชมงคลธัญบุรี. 14: 47-54.

McCarthy, C.T., Annaidh, A.N., and Gilchrist, M.D., "On the sharpness of straight edge blades in cutting soft solids: Part II – Analysis of blade geometry," Engineering Fracture Mechanics. 77:437-451.

McCarthy, C.T., Hussey, M., and Gilchrist, M.D., 2007. "On the sharpness of straight edge blades in cutting soft solids: Part I – indentation experiments," Engineering Fracture Mechanics. 74: 2205-2224.

Shen, Z., Lu, L., Sun, J., Yang, F., Tang, Y., and Xie, Y., 2015. "Wear patterns and wear mechanisms of cutting tools used during the manufacturing of chopped carbon fiber," International Journal of Machine Tools and Manufacture. 97:1-10.

Wegener, J.K. and Wegener, T., 2014. "Wood chipping with conical helical blades – Theoretical deliberations and practical experiments concerning the adjustment of chip length with a set pitch of the blade," Biomass and Bioenergy. 66: 151-158.