การพัฒนาเปลือกอาคารผสมเส้นใยมะพร้าว

Main Article Content

กิตติพันธ์ บุญโตสิตระกูล
กิตติพงษ์ สุวีโร
ปราโมทย์ วีรานุกูล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเปลือกอาคารผสมเส้นใยมะพร้าว โดยออกแบบอัตราส่วนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1: ทรายละเอียด: เส้นใยมะพร้าว: น้ำยากันซึม: น้ำประปา จำนวน 6 อัตราส่วน เท่ากับ 1: 3: 0: 0.02: 0.5, 1: 3: 0.05: 0.02: 0.5, 1: 3: 0.1: 0.02: 0.5, 1: 3: 0.15: 0.02: 0.5, 1: 3: 0.2: 0.02: 0.5, และ 1: 3: 0.25: 0.02: 0.5 โดยน้ำหนัก ขึ้นรูปด้วยการหล่อและบ่มในอากาศ ทำการทดสอบคุณสมบัติที่อายุการบ่ม 28 วัน พบว่า การผสมเส้นใยมะพร้าวในปริมาณที่เหมาะสมในเปลือกอาคาร จะสามารถลดความหนาแน่น สัมประสิทธิ์การนำความร้อน และเพิ่มความต้านทานแรงดัดของเปลือกอาคารผสมเส้นใยมะพร้าวได้ ทั้งนี้ อัตราส่วนเปลือกอาคารผสมเส้นใยมะพร้าวที่เหมาะสมที่สุด คือ อัตราส่วน 1: 3: 0.1: 0.02: 0.5 โดยน้ำหนัก โดยมีความหนาแน่นต่ำเพียง 1,582 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สัมประสิทธิ์การนำความร้อน 0.371 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน การดูดซึมน้ำ ร้อยละ 17.31 ความต้านทานแรงอัด 118 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีค่าความต้านทานแรงดัด 29 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เปลือกอาคารที่พัฒนานี้สามารถนำไปหล่อหรือฉาบเป็นผนังอาคารได้ดี

Article Details

How to Cite
บุญโตสิตระกูล ก., สุวีโร ก. ., & วีรานุกูล ป. . (2019). การพัฒนาเปลือกอาคารผสมเส้นใยมะพร้าว. แนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม, 17(2), 25–35. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/241900
บท
บทความวิจัย

References

Asasutjarit C, Hirunlabh J, Khedari J, Charoenvai S, Zeghmati B, Shin UC. Development of coconut coir-based lightweight cement board. Construction and Building Materials. 2007; 21(2): 277–288.

Office of the Higher Education Commission (OHEC). Development of light-weight materials from coconut fiber, research and technology transfer project in coconut. Bangkok: Research Network: Lower Central, Office of the Higher Education Commission; 2004. (in Thai)

Weeranukul P, Suweero K. Development of cement boards from coconut shell ash for energy and environment conservation. KKU Engineering Journal. 2016; 43(S1): 173-175. (in Thai)

Thai Industrial Standards Institute (TISI). Thai industrial standard no.58-1990: hollow non-load-bearing concrete masonry units.Bangkok: Thai Industrial Standards Institute; 1990. (in Thai)

Thai Industrial Standards Institute (TISI). Thai industrial standard no.378-1988: concrete floor tile. Bangkok: Thai Industrial Standards Institute; 1988. (in Thai)

American Society for Testing and Materials (ASTM). Standard test method for steady-state heat flux measurements and thermal transmission properties by means of the guarded-hot-plate apparatus. Philadelphia: ASTM International; 2010.

Faherty KF, Williamson TG. Wood engineering and construction handbook. 2nd ed. New York: McGraw-Hill, Inc.; 1995.

Jindaprasert P, Jaturapitakkul C. Cement, pozzolan, and concrete. 7th ed. Bangkok: ACI Partners with Thailand Concrete Association; 2012. (in Thai)

Pakunworakij T, Puthipiroj P, Oonjittichai W, Tisavipat P. Thermal resistance efficiency of building insulation material from agricultural waste. Journal of Architectural/Planning Research and Studies. 2006; 3(4): 119-126. (in Thai)

Bledzki AK, Gassan J. Composites reinforced with cellulose based fibers. Progress in Polymer Science. 1999; 24: 221-274.

Padkhoa N. The production and study property of insulation wall light board from bagasse fiber for using in architecture work. Journal of Engineering, RMUTT. 2015; 13(2): 11-20. (in Thai)

Thai Industrial Standards Institute (TISI). Thai industrial standard no.1776-1999: dry mortar for plastering. Bangkok: Thai Industrial Standards Institute; 1999. (in Thai)