จริยธรรม

บทบาทและหน้าที่ของผู้แต่ง


1. บทความของผู้แต่งที่ส่งมาพิจารณาในวารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์ต้องเป็นผลงานวิจัยที่ไม่เคยเผยแพร่ หรืออยู่ในขั้นตอนการพิจารณาเพื่อเผยแพร์กับวารสารใด ๆ มาก่อน

2. ผู้แต่งต้องระมัดระวังเรื่องการคัดลอกผลงาน (Plagiarism) โดยจะต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้แต่งท่านอื่นรวมทั้งผลงานของผู้แต่งเอง (Self-plagiarism) และทุกครั้งที่อ้างถึงเนื้อหาจากบทความอื่น ๆ ผู้แต่งจะต้องอ้างอิงถึงบทความนั้น ๆ ทุกครั้ง

3. หากบทความวิจัยที่จะส่งมาพิจารณาในวารสารเกี่ยวข้องกับ ผู้เข้าร่วม/อาสาสมัคร หรือสัตว์ ผู้วิจัยควรตรวจสอบและดำเนินการตามหลักจริยธรรม โดยปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับอย่างเคร่งครัด และผู้เข้าร่วม/อาสาสมัครต้องให้ความยินยอมก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูลเสมอ

4. หากเป็นงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนใด ๆ ผู้แต่งต้องเปิดเผยแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนลงในบทความ

5. ลิขสิทธิ์ (Copyright) ของบทความเป็นของวารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์ ดังนั้น ผู้แต่งต้องยินยอมโอนลิขสิทธิ์ให้แก่วารสาร และต้องไม่นำผลงานไปเผยแพร่กับวารสารอื่นหลังจากที่ได้รับการเผยแพร่กับวารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์

6. ชื่อผู้แต่งทุกคนที่ปรากฎในบทความจะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในผลงานวิชาการ และทางวารสารจะไม่อนุญาตให้แก้ไขชื่อผู้แต่งหลังจากที่บทความได้รับการเผยแพร่ นอกจาก ชื่อผู้แต่งเกิดข้อผิดพลาด เช่น การสะกดตัวอักษรผิด ชื่อของสถาบันผิด เป็นต้น

 

นโยบายจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

บทความจากงานวิจัยที่ส่งเข้ามารับการเผยแพร่และเกี่ยวข้องกับการทำวิจัยในมนุษย์ ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จากสถาบันที่ผ่านการรับรองจากสำนังานมาตรฐานการวิจัยในมนุษย์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และเป็นไปตามมาตรฐานจริยธรรมและกฎหมายสากล ดังนั้น ผู้เขียนอาจต้องแนบเอกสารการขอจริยธรรมการทำวิจัยในมนุษย์ (ถ้ามี)

 

 

บทบาทและหน้าที่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 


1. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากผลงานทางวิจัยที่ตนเองประเมิน

2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องพิจารณาคุณภาพของบทความ โดยใช้หลักการและเหตุผลทางวิชาการ และต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้แต่ง (Conflict of interest)

3. การตอบรับเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาบทความใด ๆ จะต้องคำนึงถึงความรู้ ความสามารถของตนเอง เพื่อที่จะได้ประเมินบทความได้อย่างมีคุณภาพ

4. หากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความและพบว่าบทความนั้นมีการคัดลอกผลงานจากงานวิจัยอื่น จะต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบโดยทันที

5. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องไม่เปิดเผยรายละเอียดของบทความที่ได้พิจารณาให้ผู้อื่นได้รับทราบ และต้องรักษาระยะเวลาในการพิจารณาบทความให้เป็นไปตามช่วงเวลาที่ทางวารสารได้กำหนด

 

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ


1. บรรณาธิการวารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์มีหน้าที่พิจารณาบทความที่ส่งเข้ารับการพิจารณาโดยต้องพิจารณาบทความนั้น ๆ ว่ามีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและขอบเขต (Aim and Scope) ของวารสารหรือไม่ 

2. บรรณาธิการต้องตรวจสอบกระบวนกาประเมินคุณภาพบทความ รวมถึงคุณภาพของบทความทุกบทความก่อนการเผยแพร่

3. บรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบการคัดลอกผลงาน (Plagiarism) และหากพบความผิดปกติของบทความ เช่น พบการคัดลอก หรือซ้ำซ้อน สามารถหยุดกระบวนการพิจารณา และติดต่อผู้แต่งเพื่อขอคำชี้แจงเพื่อประกอบการพิจารณาบทความนั้น ๆ

4. บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้แต่ง (Conflict of interest) หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 

5. บรรณาธิการต้องไม่เปลี่ยนแปลงเนื้อหาในบทความ และผลการประเมินบทความจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

6. บรรณาธิการต้องปฏิบัติการขั้นตอนการพิจารณาบทความของวารสารอย่างเคร่งครัด

7. บรรณาธิการต้องรักษามาตรฐานและพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นไป

 

แก้ไขล่าสุด: 12 กันยายน 2566