การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแบบจำลองการจำแนกภาพผลไม้ส่งออกของไทย

Main Article Content

วลัยภรณ์ ศรเกลี้ยง
วรภัทร ใจห้าว
ภูมิรพี ทองแก้ว
ธนบดินทร์ เหมทานนท์
พิชญุตม์ ศรีนวลแก้ว
กฤตภาส สงศรีอินทร์

บทคัดย่อ

ผลไม้เป็นสินค้าเกษตรที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย ทั้งในด้านเป็นอาชีพหลักและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรจำนวนมาก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของแบบจำลองการจำแนกประเภทรูปภาพผลไม้ส่งออกของไทย โดยรวบรวมชุดข้อมูลรูปภาพเป็นจำนวนกว่า 710 รูป กระบวนการเรียนรู้แบบจำลองประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ การลดมิติของข้อมูลรูปภาพ และการเรียนรู้แบบจำลอง ในขั้นตอนของการลดมิติมีการทดลอง 2 รูปแบบ ได้แก่ การบี้รูปภาพ และ การใช้โครงข่ายประสาทเทียม แบบจำลองที่ศึกษาในขั้นตอนที่ 2 ประกอบไปด้วยแบบจำลองจำนวน 3 แบบจำลอง ได้แก่ แบบจำลองเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด แบบจำลองต้นไม้ตัดสินใจ และแบบจำลอง การถดถอยโลจิสติกส์ ผลการวิจัยบนชุดข้อมูลที่ถูกรวบรวมพบว่า ประสิทธิภาพการจำแนกรูปภาพผลไม้ส่งออกของไทย โดยการใช้เทคนิคการลดมิติด้วยโครงข่ายประสาทเทียมมีประสิทธิภาพสูงกว่าการลดมิติด้วยการบี้รูปภาพ และแบบจำลองที่สามารถจำแนกรูปภาพได้ดีที่สุด คือ แบบจำลองการถดถอย โลจิสติกส์ ซึ่งให้ค่าความถูกต้องและค่าความจำแนกสูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 95.21 ค่าความแม่นยำสูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 95.50 ค่าเอฟวันสกอร์สูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 95.16 โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้มากที่สุดอยู่ที่ 25.809 วินาที แต่มีระยะเวลาในการทำนายน้อยที่สุดอยู่ที่ 7.70 มิลลิวินาที

Article Details

How to Cite
ศรเกลี้ยง ว. ., ใจห้าว ว., ทองแก้ว ภ. ., เหมทานนท์ ธ. ., ศรีนวลแก้ว พ. ., & สงศรีอินทร์ ก. (2024). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแบบจำลองการจำแนกภาพผลไม้ส่งออกของไทย. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 7(1), 73–90. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jait/article/view/255424
บท
บทความวิจัย

References

Abadi, M. et al. (2016). Tensorflow: a system for large-scale machine learning. Proceeding of the 12th USENIX Conference on Operating Systems Design and Implementation, Savannah GA, USA, November 2-4, 2016, 265–283. https://www.usenix.org/conference/osdi16/technical-sessions/presentation/abadi

Chotichatmala, S. & Wiwatwattana, N. (2021). Machine learning-based one-class fruit classification models for apple images detection. Proceeding of the 1st Data Science Conference, Bangkok, Thailand, 2021, 16-20. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1085 [In Thai]

Chuchip, K. (2018). Remote Sensing Technical Note No.5 : Logistic Regression. Faculty of Forestry, Kasetsart

University. [In Thai]

Deng, J., Dong, W., Socher, R., Li, L.-J., Li, K., & Fei-Fei, L. (2009). ImageNet: A large-scale hierarchical image database.

In 2009 IEEE Conference on Computer Vision and Pattern Recognition (CVPR), 248-255. https://doi.org/10.1109/CVPR.2009.5206848

He, K., Zhang, X., Ren, S. & Sun, J. (2016). Deep residual learning for image recognition. In 2016 IEEE Conference on Computer Vision and Pattern Recognition (CVPR), 770-778. IEEE. https://doi.org/10.1109/CVPR.2016.90

Klodpeng, J. (2023). Fruit classification system. Center for Agricultural Technology and Innovation, Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives, Naresuan University. Retrieved 5 November 2023. Retrieved from https://www.gosmartfarmer.com/innovation/21350. [In Thai]

Kummong, R. (2021). Mangosteen detection using deep learning. Information Technology Journal, 18(1), 47-55. [In Thai]

Office of Agricultural Economics. (2023). Thailand’s database system and foreign agricultural trade information services. Retrieved 15 November 2023. Retrieved from https://impexpth.oae.go.th. [In Thai]

Pakamwang, j., Khoomsab, K., & Srimuang, W. (2020). Model comparisons of classification for tourism development of Khao Kho district, Phetchabun Province using data mining techniques. Rajabhat Journal of Sciences Humanities & Social Sciences, 21(1), 213-223. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/240641 [In Thai]

Pedregosa, F. et al. (2011). Scikit-learn: machine learning in Python. Journal of Machine Research, 12, 2825–2830. https://dl.acm.org/doi/10.5555/1953048.2078195

Sereepong, C. & Wiwatwattana, N. (2021). Coffee bean quality classification using convolutional neural network. Proceeding of the 1st Data Science Conference, Bangkok, Thailand, 2021, 74-85. [In Thai]

Suksukont, A., Santingamwong, C., Khamkhaek, W., & Pansuwan, S. (2022). Fruits ripening analysis system using image processing technology. Journal of Information Science and Technology, 12(1), 61-66. https://doi.org/10.14456/jist.2022.6 [In Thai]

Utanon, W., Phongsuphap, S., Sawangarom, W., & Singkleewan, N. (2020). Non-destructive image processing technique and rule-based classification in estimating the quality of fruit. Journal of Information, 19(1), 130-138. [In Thai]