แนวทางการสื่อสารอัตลักษณ์สามธรรมสำหรับการท่องเที่ยวยังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาการใช้อัตลักษณ์สามธรรมสำหรับการท่องเที่ยวจังหวัดสกลนคร (2) เพื่อเสนอแนวทางการใช้อัตลักษณ์สามธรรมสำหรับการท่องเที่ยวจังหวัดสกลนคร เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี (Mix Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ นำข้อมูลมาวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) แล้วกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสกลนคร TOWS MATRIX Analysis และระดมความคิดเห็น (Focus Group) โดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบแผนกลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสกลนคร ผลการวิจัยพบว่า
- จังหวัดสกลนครมีจุดเด่นในเรื่องธรรมะ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ จึงได้กำหนดอัตลักษณ์ 3 ธรรมขึ้นเพื่อเป็นยุทธศตร์การท่องเที่ยวจังหวัดสกลนคร แต่สภาพปัญหาที่ผ่านมาพบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังขาดการเผยแพร่อัตลักษณ์การท่องเที่ยวที่ชัดเจน จำเป็นต้องส่งเสริมหรือกระตุ้นให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันพัฒนาอัตลักษณ์การท่องเที่ยวจังหวัดอย่างจริงจัง
- แนวทางการใช้อัตลักษณ์สามธรรมสำหรับการท่องเที่ยวจังหวัดสกลนคร (1) กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการใช้อัตลักษณ์จังหวัด เป็นการพัฒนาการเล่าเรื่องอัตลักษณ์ผ่านประวัติศาสตร์ ทั้งสื่อออนไลน์และออฟไลน์ สร้างรูปแบบการสื่อสารให้เป็นการสื่อสารสองทาง เพื่อเติมการรับรู้ และสร้างแรงดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว (2) กลยุทธ์ที่ 2 การกำหนดในเรื่องการออกแบบ และการเข้ารหัสสาร การนำเครื่องมือการสื่อสารการตลาดมาผสมผสานกัน เพื่อสร้างและยกระดับกลไกการออกแบบ และการเลือกใช้อัตลักษณ์จังหวัดให้เป็นรูปธรรม สามารถเชื่อมโยงถึงจังหวัดได้ (3) กลยุทธ์ที่ 3 การประสานงานและขยายความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวทั้งระดับภูมิภาคและระดับประเทศ เป็นการบริหารจัดการด้านนโยบาย และการดำเนินงานอย่างยั่งยืน สนับสนุนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การสื่อสารอัตลักษณ์จังหวัดให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้แต่งจะต้องกรอกข้อมูลเพื่อโอนลิขสิทธิ์ (copyright) ให้กับวารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์ ก่อนเผยแพร่บทความ โดยดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jait/copyrightlicense
References
Barisic, P. & Blazevic, Z. (2014). Visual identity components of tourist destination. International Journal of Social, Management, Economics and Business Engineering, 8(7), 2179-2183. https://www.researchgate.net/publication/339178473_Visual_Identity_Components_of_Tourist_Destination
Department of Tourism. (2018). Tourism development strategy plan 2018 - 2019 of the Department of Tourism. Bangkok: Department of Tourism. [In Thai]
Kanlaya, W. (2009). Statistics for research. Bangkok: Chulalongkorn University. [In Thai]
Mahatmi, N. & Satyagraha, A. (2019). Study of mascot design character as part of city branding: Malang city. ULTIMART Journal Komunikasi Visual, 11(2). 6 – 15. https://doi.org/10.31937/ultimart.v11i2.1019
Pinpinat, S. (2016). Communication for community – based tourist attraction management: A case study of 133 year Angsila’s old market. Sripatum Chonburi Interdisciplinary Journal, 2(2). 1 – 13. [In Thai]
Schultz, D.E. & Kitchen, P.J. (1997). Integrated marketing communications in U.S. advertising agencies: An exploratory study. Journal of Advertising Research, 37(5). 7 – 18.
Siregar, M. R. A. (2019). Komunikasi Kota Ruang Publik Taman Sebagai Pembentuk Citra Kota Hijau. Jurnal Komunikasi Pembangunan, 17(1), 102 – 113. https://doi.org/10.46937/17201926595
Supatra, K. & Suthikan, K. (2022). Marketing communication strategies for local tourism to promote health tourism in Nakhon Si Thammarat. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 9(1), 114 – 132. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/252436 [In Thai]
TAT Intelligence Center Tourism Authority of Thailand. (2021). Tourist statistics. Retrieved from 25 November 2021. Retrieved from https://intelligencecenter.tat.or.th/. [In Thai]
Tipsuda, P. (2016). Participatory communications for the promotion of creative tourism in Nan province. Master of Arts (Communication Arts and Innovation), National Institute of Development Administration. [In Thai]
Wattanarak, S. (2020). Provincial identity communication through mascot for Thailand’s tourism promotion. Doctoral of Communication Arts (Marketing Communication), University of the Thai Chamber of Commerce. [In Thai]