การประยุกต์ระบบภูมิสารสนเทศสำรวจพืชวงศ์มังคุด ป่าสงวนแห่งชาติป่าโคกผักกูดและป่าโป่งแดง จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

นฤเศรษฐ์ ประเสริฐศรี
สาธิต แสงประดิษฐ์
นุชนาฎ บัวศรี
ธีรญา อุทธา
ทินกร อังคะฮาด
ปัญญา บุตะกะ

บทคัดย่อ

พืชวงศ์มังคุด จากภูมิปัญญาของท้องถิ่น มีประโยชน์ทั้งด้านการนำมารับประทานเป็นอาหารและเป็นพืชสมุนไพร การสำรวจพืชวงศ์มังคุด ในป่าสงวนแห่งชาติป่าโคกผักกูดและป่าโป่งแดง จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้ระบบภูมิสารสนเทศ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1)สำรวจความหลากชนิดพืชวงศ์มังคุด 2) จัดทำฐานข้อมูลและแผนที่การกระจายตัวของพืชวงศ์มังคุด และ 3) เพื่อการวางแผนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยการวางแปลงขนาด 40 X 40 เมตร จำนวน 17 แปลง พบพืชทั้งหมด 1,937 ต้น 38 ชนิด 24 สกุล และพบพืชวงศ์มังคุด 15 แปลง จำนวน 199 ต้น สามารถจำแนกได้เป็น 4 ชนิด คือ ติ้วขน (Cratoxylum formosum subsp. pruniflorum (Kurz) Gogel) ส้มโมง (Garcinia cowa Roxb. ex Choisy) ติ้วเกลี้ยง (Cratoxylum cochinchinense (Lour.) Blume) และติ้วขาว (Gratoxylum formosum (Jack) Dyer.) จำนวน 96 44 39 และ 20 ต้น ตามลำดับ ค่าดัชนีความสำคัญของพรรณพืช (IVI) พืชวงศ์มังคุดพบว่าติ้วขน ส้มโมง ติ้วเกลี้ยง และติ้วขาว มีค่าเท่ากับ 11.47 4.11 3.26 และ 2.66 ตามลำดับ ซึ่งมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง และค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับพันธุ์ไม้ชนิดอื่นที่พบในพื้นที่ศึกษาและในแปลงสำรวจ ทั้งส้มโมงและติ้วขาว เป็นพืชที่นิยมของประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบป่า จะนำมารับประทานเป็นผักสด และเป็นเครื่องปรุงรส ควรจะมีการอนุรักษ์ให้คงอยู่ในพื้นที่มากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
ประเสริฐศรี น., แสงประดิษฐ์ ส., บัวศรี น., อุทธา ธ., อังคะฮาด ท. ., & บุตะกะ ป. (2021). การประยุกต์ระบบภูมิสารสนเทศสำรวจพืชวงศ์มังคุด ป่าสงวนแห่งชาติป่าโคกผักกูดและป่าโป่งแดง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 3(1), 51–62. https://doi.org/10.14456/jait.2021.5
บท
บทความวิจัย

References

ก่องกานดา ชยามฤต. (2554). อนุกรมวิธานพืช. สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2563, สืบค้นจาก http://www.dnp.go.th/Research/Knowledge/taxonomy.htm

คณะเภสัชศาสตร์. (มปป.). ฐานข้อมูลสมุนไพร. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สืบค้น 25 มกราคม 2564, สืบค้นจาก http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=228.

ดอกรัก มารอด. (2554). เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการวิเคราะห์สังคมพืช. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2564, สืบค้นจาก http://bioff.forest.ku.ac.th/PDF_FILE/MAY_2011/DOKRAK_2011.pdf

ดอกรัก มารอด และอุทิศ กุฎอินทร์. (2552). นิเวศวิทยาป่าไม้ประยุกต์. สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัย. เกษตรศาสตร์. สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2563, สืบค้นจาก http://kukr.lib.ku.ac.th/db/indiex.php?/kukr/search_detail/result/285023

นฤมล กฤษณชาญดี และดวงใจ ศุขเฉลิม. (มปป.). การศึกษาทางอนุกรมวิธานของพันธุ์ไม้สกุลติ้วและสกุลบัวทองในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บ้านและสวน. (มปป.). สืบค้น 25 มกราคม 2564, สืบค้นจาก https://www.baanlaesuan.com/plants/biennial/137564.html.

ไพบูลย์ แพงเงิน. (2561). เทคโนโลยีการเกษตร. ชะมวงหรือส้มโมงสรรพคุณและคุณค่าทางโภชนาการ. สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2563, สืบค้นจาก https://www.technolo-gychaoban.com

มูลนิธิวิกิพีเดีย. (มปป.) พืชวงศ์มังคุด. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. สืบค้น 25 มกราคม 2564, สืบค้นจากhttps://th.wikipedia.org/wiki/พืชวงศ์มังคุด

ราชกิจจานุเบกษา. (2511). กรมป่าไม้. เล่มที่ 85 ตอนที่ 67 หน้าที่ 513 วันที่ 30 กรกฎาคม 2511. กรุงเทพฯ.

สามารถ มุขสมบัติ และธัญนรินทร์ ณ นคร. (2538). การใช้ Spiegel Relascope เพื่อจัดสร้างตารางปริมาตรไม้ บริเวณป่าสาธิตเซคเตอร์แม่แหง อำเภองาว จังหวัดลำปาง. กลุ่มพัฒนาการจัดการป่าไม้และป่าสาธิต ส่วนวิจัยเศรษฐกิจและพัฒนาการจัดการป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเพทฯ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (ม.ป.ป.). การวัดความสูงของต้นไม้ (TREE HEIGHT). สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2563, สืบค้นจาก http://globethailand.ipst.ac.th/?page_id=4029

สถิตย์ วัชรกิตติ. (2525). การสำรวจทรัพยากรป่าไม้. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. สืบค้น 25 มกราคม 2563, สืบค้นจาก https://herb.in.th/ต้นติ้วขาว-ติ้วส้ม/#jp-carousel-96441

อุทิศ กุฎอินทร์. (2542). นิเวศวิทยาพื้นฐานเพื่อการป่าไม้. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

MEDTHAI. ติ้วขาวและสรรพคุณของติ้ว. สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2563, สืบค้นจาก https://medthai.com/ติ้วขาว.

PSTIP. ติ้วขนสรรพคุณและประโยชน์. สืบคืน 25 มกราคม 2564, สืบค้นจาก https://www.pstip.com/b/สมุนไพร/ติ้ว-สรรพคุณและประโยชน์.html