การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนสำหรับสื่อแอนิเมชัน เรื่องผจญภัยโลกเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดอินกัลยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อแอนิเมชัน เรื่อง ผจญภัยโลกเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดอินกัลยา เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อแอนิเมชัน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อแอนิเมชันที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดอินกัลยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อแอนิเมชัน เรื่อง ผจญภัยโลกเทคโนโลยี แผนการสอน แบบประเมินคุณภาพ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจ ผู้วิจัยจัดการเรียนการสอนกับกลุ่มเป้าหมายตามแผนการสอนจำนวน 2 คาบ โดยให้กลุ่มเป้าหมายศึกษาสื่อแอนิเมชันจำนวน 4 สถานการณ์ จากนั้นตั้งคำถามเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ กระตุ้นนักเรียนโดยใช้คำถามชวนคิด และสังเกตพฤติกรรม สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อแอนิเมชันที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อแอนิเมชันที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้แต่งจะต้องกรอกข้อมูลเพื่อโอนลิขสิทธิ์ (copyright) ให้กับวารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์ ก่อนเผยแพร่บทความ โดยดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jait/copyrightlicense
References
ชุมพล จันทร์ฉลอง. (2561). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง รักษ์ผืนป่า ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(2), 93-103.
ดนัยพร ลดากุล และปุญญรัตน์ ปุญญา. (2561). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติเพื่อส่งเสริมคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 1(1), 66-71.
นราทร ประมวญรัฐการ และปุญญรัตน์ ปุญญา. (2561). การพัฒนาแอนิเมชันสามมิติประกอบการเรียนชีววิทยา เรื่อง อาณาจักรสัตว์ : ไฟลัมแพลทีเฮลมินเทสและไฟลัมเนมาโทดา. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 1(2), 93-102
นิภัทร์ ปัญญวานันท์. (2562). การออกแบบโมเดลตัวละคร และการสร้างสรรค์ งานแอนิเมชัน 3 มิติ.วารสารนักบริหาร, 39(1), 67-81.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น, บจก.
ปิยะรัตน์ ภิรมแก้วเเละจงกล แก่นเพิ่ม. (2558). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง HOWDY ENGLISH สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), 311-317.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
อมีนา ฉายสุวรรณ เเละชุมพล จันทร์ฉลอง. (2559). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่องพี่น้องออมเงิน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์,11(2), 193-203.
อรวรรณ ระย้า. (2556). ศึกษาความพึงพอใจและความคิดเห็นของผู้ใช้สื่อแอนิเมชันช่วยในการจัดการเรียนการสอน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 32(1), 28-32.
อาลิสา สายทอง คุณอานันท์ นิรมล และกฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์. (2560). กลการพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชันสองมิติ เรื่องกระบวนการในการดำรงชีวิตของพืชกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนนมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(1), 159-171.