พฤติกรรมการเปิดรับและปัจจัยที่มีผลต่อการเลียนแบบการ์ตูนแอนิเมชันของเยาวชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การ์ตูนแอนิเมชันมีอิทธิพลต่อเด็กและเยาวชนทำให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบได้ งานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย
1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับและการเลียนแบบการ์ตูนแอนิเมชันของเยาวชน 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลียนแบบการ์ตูนแอนิเมชันของเยาวชน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลียนแบบการ์ตูนแอนิเมชันจำแนกตามเพศและช่วงอายุ การวิจัยครั้งนี้ เลือกนิสิตสาขาวิชาคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและเกม คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 175 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง และใช้แบบสอบถาม เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลียนแบบพฤติกรรมจากการ์ตูนของเยาวชน ที่มีค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสำหรับทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าทดสอบT-test ค่าทดสอบF-test และสถิติสำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก หมุนแกนแบบแวรีแมกซ์ มีค่า KMO เท่ากับ 0.93 และตัวแปรกำหนดความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเยาวชนและอายุต่ำกว่า 20 ปีมีพฤติกรรมการเปิดรับการชมการ์ตูนแอนิเมชัน ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับการได้รับประโยชน์ คือ การได้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ และช่วยผ่อนคลายความเคลียด จึงเกิดการรับชมเรื่องเดิมซ้ำ 1-3 ครั้ง ส่งผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมการเลียนแบบการ์ตูนแอนิเมชัน ซึ่งพฤติกรรมเลียนแบบนนั้นเกิดขึ้นเมื่ออายุ 9 ขวบโดยประมาณ อย่างไรก็ตาม จำนวนของเยาวชนที่เลิกเลียนแบบและยังคงเลียนแบบพฤติกรรมการ์ตูนแอนิเมชันมีปริมาณไม่แตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลียนแบบการ์ตูนแอนิเมชันของเยาวชน จำแนกได้ 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) การออกแบบคุณลักษณะของตัวการ์ตูนที่มีเอกลักษณ์ และ 2) การออกแบบการเล่าเรื่องการ์ตูนแอนิเมชันที่ดึงดูดใจ ผลการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยจำแนกตามเพศและช่วงอายุ พบว่า เพศและช่วงอายุที่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อทั้ง 2 ปัจจัยที่วิเคราะห์ได้ ไม่แตกต่างกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้แต่งจะต้องกรอกข้อมูลเพื่อโอนลิขสิทธิ์ (copyright) ให้กับวารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์ ก่อนเผยแพร่บทความ โดยดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jait/copyrightlicense
References
คุณาสิน อัศวพันธุ์นิมิต และคณะ, 2558. การพัฒนาภาพยนตร์แอนิเมชันสองมิติเรื่อง ขบวนการรักษ์โลก. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 3(58). 87 - 94.
ชนิตว์สรณ์ ตรีวิทยาภูมิ, 2544. โครงการจัดทำข้อมูลองค์ความรู้ งวดที่ 1 : นิยามธุรกิจการตลาด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุติพงศ์ พันธุ์สมบัติ และพงษ์พิพัฒน์ สายทอง, 2559. การพัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอแบบเล่านิทานเป็นฐาน เรื่องการบริโภคอาหาร สำหรับเด็กปฐมวัย. อินฟอร์เมชั่น. 23(59). 39 - 48.
พีรพนธ์ ตัณฑ์จยะ และสุคนธ์ทิพย์ คำจันทร์, 2559. การใช้สื่อประสมแอนิเมชันเพื่อเพิ่มจิตสำนึกความตรงต่อเวลา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 10(59). 188 - 200.
วัยวัฒน์ สายทุ้ม และคณะ, 2556. การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง “รู้รักษ์ พลังงาน”. การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 6. 510 - 516.
สิริวรรณ ยะไชยศรี, สานิตย์ กายาผาด และพงษ์พิพัฒน์ สายทอง. 2558. รูปแบบการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ เพื่อการเรียนรู้ด้านการมีวินัยสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารบัณฑิตศึกษา. 12(57). 123 - 130.
อนุชา เสรีสุชาติ, 2548. การบริหารการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น รายงานโครงการเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาบริหารสื่อสารมวลชน.
อมีนา ฉายสุวรรณ และชุมพล จันทร์ฉลอง, 2559. การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่องพี่น้องออมเงิน. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(59). 193 - 203.
ธนวุฒิ เศขรฤทธิ์, 2554. การศึกษาพฤติกรรมการเลียนแบบศิลปินต้นแบบละครโทรทัศน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย กรุงเทพ การศึกษาเฉพาะบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
ปภังกร ปรีดาชัชวาล, ไฉไล ศักดิวรพงศ์ และสากล สถิตวิทยานันท์, 2556. การยอมรับและพฤติกรรมการเลียนแบบทางวัฒนธรรมจากสื่อบันเทิงเกาหลีของวัยรุ่นไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 1(56) 17 - 30.
นิพนธ์ คุณารักษ์, 2551. การวิเคราะห์และวิจารณ์ภาพยนตร์แอนิเมชั่น. วารสารศูนย์บริการวิชาการ. 4(51). 42 - 46.
สุวิช ถิระโคตร, ชญา หิรัญเจริญเวช และคณะ, 2560. เจตคติและแรงจูงใจของผู้เรียนในการใช้แอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 5(60). 92 - 101.
กาญจนพิชญ์ ศิริภูวณิชย์ และอุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์, 2558 การเล่าเรื่องข้ามสื่อในการ์ตูนไทยของเอกสิทธิ์ ไทยรัตน์. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมนิด้า. 2(58). 89 - 116.
นิชรา เรืองดารกานนท์. (2557). พฤติกรรมเลียนแบบ ส่งผลเสียต่อเด็กหรือไม่? (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/พฤติกรรมเลียนแบบ-ส่งผลเ/
บรรเจิดพร รัตนพันธุ์. (2545). ต้นแบบแห่งการเรียนรู้ (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/main2/article/learn_original.htm
เอกสิทธิ์ไทยรัตน์. (2554). MY MANIA 1. กรุงเทพฯ: LET’S Comic.
Norris, Megan; Lecavalier, Luc (2009). "Evaluating the Use of Exploratory Factor Analysis in Developmental Disability Psychological Research". Journal of Autism and Developmental Disorders.