การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อส่งเสริมคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2

Main Article Content

ดนัยพร ลดากุล
ปุญญารัตน์ ปุญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง ฮีโร่น้อยหัวใจซื่อสัตย์ 2) ศึกษาการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่ชมการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง ฮีโร่น้อยหัวใจซื่อสัตย์ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ชมการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง ฮีโร่น้อยหัวใจซื่อสัตย์ มีกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 จังหวักนครราชสีมา ประเทศไทย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเจาะจงจากนักเรียนที่มีอายุระหว่าง 9 ปี ไปจนถึงอายุ 12 ปี ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง ฮีโร่น้อยหัวใจซื่อสัตย์ โดยรวมมีคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.73 2) การรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างจากการชม การ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง ฮีโร่น้อยหัวใจซื่อสัตย์ มีการรับรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าร้อยละ 91.00 3) ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ชมการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง ฮีโร่น้อยหัวใจซื่อสัตย์ โดยรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.72

Article Details

How to Cite
ลดากุล ด., & ปุญญา ป. (2018). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อส่งเสริมคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 1(1), 64–71. https://doi.org/10.14456/jait.2018.5
บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร รักมิตร. (ม.ป.ป.). จิตวิทยาพัฒนาการวัยเด็กตอนปลาย (LATE CHILDHOOD). [เว็บไซต์]. เข้าถึงได้จาก https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/concepts_of_developmental_psychology/01_12.html. [วันที่ค้นข้อมูล: 27 กรกฏาคม 2560].

ดิษพงศ์ วงศ์อร่าม. (2554). สื่อสารสนเทศแอนิเมชั่นกับศิลปศึกษา. [เว็บไซต์]. เข้าถึงได้จาก https://www.artsedcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539325488&Ntype=9. [วันที่ค้นข้อมูล: 27 กรกฏาคม 2560].

มินตรา ยุ่นประยงค์. (2556). การออกแบบแอนิเมชัน 3 มิติเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง. [ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

สภาวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน. (2560). แบบเสนอผลงานเพื่อเข้ารับการคัดเลือกบุคคลต้นแบบตามคุณธรรม ๙ ประการตามพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. [เว็บไซต์]. เข้าถึงได้จาก https://www.m-culture.go.th/lamphun/ewt_news.php?Nid=564. [วันที่ค้นข้อมูล: 27กรกฎาคม 2560].

สรชัย ชวรางกูร. (2550). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสนใจของนักเรียนช่วงชั้นปีที่ 2 ที่มีต่อการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติและ 3 มิติ [ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อชิตา เทพสถิต. (2557). การออกแบบแอนิเมชัน 3 มิติ การกินอย่างถูกหลักโภชนาการ. [ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

Corruption Perceptions Index. (2016). Corruption Perception Index 2016. Available from: https://www.transparency.org/news/feature/corruption_perceptions_index_2016. [July 27, 2017].

Muir, S.E. (2012). Getting the animated message : Effects of animated public service announcements designed for children on adults. Master Abstracts

Majumdar, R. and Sahasrabudhe, S.S. (2016). MOOC for Skill Development in 3D Animation: Comparing Learning Perceptions of First Time and Experienced Online Learner. Austin, TX, USA: Advanced Learning Technologies (ICALT), IEEE 16th International Conference on Vitalia Berezina-Blackburn. (2010) Upon a time. Poetry in animation. Ohio. The Ohio State University.