การประยุกต์ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อศึกษาความหลากชนิดของพืชวงศ์ตีนเป็ดในวนอุทยานภูแฝก จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

นฤเศรษฐ์ ประเสริฐศรี
สาธิต แสงประดิษฐ์
ดำรงศักดิ์ ชูศรีทอง
อรจรรยา พิมกินรีย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเล่มนี้เพื่อ 1) การประยุกต์ภูมิสารสนเทศเพื่อศึกษาความหลากชนิด ความหนาแน่น และการกระจายตัวของพืชวงศ์ตีนเป็ด 2) วิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและจัดทำแผนที่พืชวงศ์ตีนเป็ดในวนอุทยานภูแฝก โดยการวางแปลงสำรวจชั่วคราว ขนาด 40 X 40 เมตร จำนวน 50 แปลง พบพืชวงศ์ตีนเป็ด 47 แปลง จำนวน 12 ชนิด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ไม้ยืนต้น และไม้พื้นล่าง ไม้ยืนต้น 3 ชนิด พบมากที่สุด คือ โมกมัน (Wrightia pubescens R. Br.) โมกหลวง (Holarrhena pubescens (Buch.-Ham.) Wall.ex G.Don) และ พญาสัตบรรณ (Alstonia scholaris) จำนวน 437 12 และ 5 ต้นตามลำดับ มีค่าดัชนีความสำคัญพันธุ์พืช (IVI) เท่ากับ 30.434, 1.133 และ 0.593 ตามลำดับ ไม้พื้นล่าง จำนวน 2 ชนิด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ไม้ล้มลุก และไม้รอเลื้อย ไม้ล้มลุก คือ ต้าง (Hoya kerrii Craib) และ เกล็ดมังกร (Dischidia minor (Vahl) Merr.) จำนวน 4 และ 1 ต้นตามลำดับ และไม้รอเลื้อย คือ ส้มลม (Aganonerion polymorphum Spire) โมกเครือ (Aganosma marginate (Roxb.) G.Don) กระทุมหมาบ้า (Dregea volubilis (L.f.) Benth. ex Hook.f) ชะลูดช่อสั้น (Alyxia reinwardtii Blume) อ้อยสามสวน (Albizia myriophylla Benth) เครือปลาสงแดง (Ichnocarpus frutescens (L.) W.T.Aiton) และเครือมวกขาว (Parameria laevigata (Juss.) Moldenke.) จำนวน 442, 113, 93, 44, 17, 2 และ 1 ต้นตามลำดับ


         การวิเคราะห์ความหนาแน่นด้วยวิธีการ Kernel Density พบว่า 1) ไม้ยืนต้น (ไม้หนุ่มและไม้ใหญ่) มีค่าสูงสุดระหว่าง 0.090 ถึง 0.122 ต้น/ตารางเมตร ต่ำสุดคือ 0.001 ถึง 0.022 ต้น/ตารางเมตร 2) ไม้พื้นล่างที่เป็นไม้ยืนต้น มีสูงสุดระหว่าง 0.066 ถึง 0.087 ต้น/ตารางเมตร และต่ำสุดระหว่าง 0 ถึง 0.014 ต้น/ตารางเมตร 3) ไม้พื้นล่าง (ไม้ล้มลุกและไม้รอเลื้อย) มีค่าสูงสุดระหว่าง 0.101 ถึง 0.131 ต้น/ตารางเมตร และต่ำสุดระหว่าง 0 ถึง 0.022 ต้น/ตารางเมตร และการวิเคราะห์ความหนาแน่นด้วยวิธีการ Inverse Distance Weighted (IDW) พบว่า 1) ไม้ยืนต้น (ไม้หนุ่มและไม้ใหญ่) มีค่าสูงสุดระหว่าง 0.042 ถึง 0.080 ต้น/ตารางเมตร ต่ำสุดคือ 0 ถึง 0.007 ต้น/ตารางเมตร 2) ไม้พื้นล่างที่เป็นไม้ยืนต้น มีค่าสูงสุดระหว่าง 0.037 ถึง 0.064 ต้น/ตารางเมตร และต่ำสุดระหว่าง 0 ถึง 0.006 ต้น/ตารางเมตร 3) ไม้พื้นล่าง (ไม้ล้มลุกและไม้รอเลื้อย) มีค่าสูงสุดระหว่าง 0.065 ถึง 0.116 ต้น/ตารางเมตร และต่ำสุดระหว่าง 0 ถึง 0.011 ต้น/ตารางเมตร


         ผลการวิเคราะห์โดยการใช้เทคนิค Kernel Density จะมีลักษณะการกระจายตัวได้สมเหตุสมผล และใกล้เคียงกับข้อมูลที่สำรวจในภาคสนามได้มากที่สุด พิจารณาปัจจัยทางกายภาพด้านดัชนีความต่างความชื้น พบว่าพืชวงศ์ตีนเป็ดจะปรากฏอยู่ในช่วงระหว่างค่า 0.271 ถึง 0.414 ซึ่งเป็นความชื้นในระดับน้อยที่สุด ปัจจัยทางกายภาพด้านป่าไม้ พบว่าพืชวงศ์นี้เกิดกระจายทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ปัจจัยทางกายภาพด้านความลาดชัน สามารถพบพืชวงศ์นี้ได้ตั้งแต่ 10 ถึง 20% และปัจจัยทางกายภาพด้านความสูง พบมากในบริเวณความสูงตั้งแต่ 250 ถึง 290 เมตร ทั้งนี้พืชวงศ์ตีนเป็ดเป็นพืชที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น นํามาประกอบอาหาร ยารักษาโรค และเป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงาม จึงสมควรอย่างยิ่งที่อนุรักษ์เอาไว้

Article Details

How to Cite
ประเสริฐศรี น., แสงประดิษฐ์ ส., ชูศรีทอง ด., & พิมกินรีย์ อ. (2022). การประยุกต์ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อศึกษาความหลากชนิดของพืชวงศ์ตีนเป็ดในวนอุทยานภูแฝก จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 4(2), 142–153. https://doi.org/10.14456/jait.2022.11
บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2555). ภูมิสารสนเทศทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (Geo-Informatics of Marine and Coastal Resources. พัทยากราฟฟิค ปริ้นท์ จำกัด.

กรมป่าไม้. (2530). พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2564, สืบค้นจาก http://new.forest.go.th/for10/wp-content/uploads/sites/73/2015/05/พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม 2530.pdf

กรมป่าไม้. (2536). เอกสารสมทบการประชุมวิชาการป่าไม้ ประจำปี 2536 “ป่าเพื่อชีวิต” ในหัวข้อ ตีนเป็ด ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจชนิดใหม่. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2564, สืบค้นจาก http://forprod.forest.go.thorprod/frs-research/research_file_folder/FullPDF_t1467083684.pdf

ก่องกานดา ชยามฤต. (2548). ลักษณะประจำวงศ์พรรณไม้. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2564, สืบค้นจาก https://www.slideshare.net/NicksonButsriwong/ss-72981582

เกวลิน นาคเที่ยง และพิมพิกา ยิ้มยวน. (2558). ศึกษาเปรียบเทียบภาวะภัยแล้ง ในเขตตอนใต้ของจังหวัดสุโขทัย ด้วยเทคนิคดัชนีพืชพรรณ และการวิเคราะห์เชิงลําดับศักดิ์ เพื่อประเมินความสูญเสียจากภัยแล้ง. [ปริญญานิพนธ์, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. http://www.agi.nu.ac.th/nred/Document/is-PDF/2557/geo_2557_014_FullPaper.pdf.

เชิดชัย เจียรวนนท์. (2544). สมุนไพรในป่าฝน เล่ม 1. บริษัท แอ็ดวานซ์ เอ็ดดูเคชั่น มีเดีย จำกัด.

ดอกรัก มารอด. (2549). บทปฏิบัติการการวิเคราะห์สังคมพืช. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดอกรัก มารอด. (2554). เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการวิเคราะห์สังคมพืช. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2564, สืบค้นจาก: http://bioff.forest.ku.ac.th/PDF_FILE/MAY_2011/DOKRAK_2011.pdf.

ทยา กิจการุณ. (2545). อาหารดอกไม้. บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

นิจศิริ เรืองรังสี และธวัชชัย มังคละคุปต์. (2547). สมุนไพรไทย. บีเฮลท์ตี้.

ปิยะวัฒน์ คําภีระ (2558). การศึกษารูปแบบและช่วงเวลาของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน กรณีศึกษาเทศบาลนครพิษณุโลก. [ปริญญานิพนธ์, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. http://trsl.thairoads.org/FileUpLoad/1610/170202001610.pdf

พรชนก ศักดิ์ธานี. (2554). วนอุทยานภูแฝก จังหวัดกาฬสินธุ์. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2564, สืบค้นจาก http://www.oceansmile.com/E/Kalasin/VanaPhufak.htm

พิณชนก มะลิมาตร. (2559). การศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยา กายวิภาคศาสตร์ และเรณูวิทยาของ พืชวงศ์ ลีลาวดี (Apocynaceae) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(1), 51-64.

พิณชนก มะลิมาตร, ปิยะพร แสนสุข และอุษา ทองไพโรจน์ . (2556). สัณฐานวิทยาของต่อมโคน กลีบเลี้ยง (Colleter) ของพืชวงศ์ลีลาวดี (Apocynaceae). วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ฉบับพิเศษ, 683-691.

พินิจ จันทร. (2551). ยำดีใกล้ตัว. ฐานบุ๊คส์.

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. (2560). ป่าไม้ในเมืองไทย. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2564, สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/10526

วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล, สมภพ ประธานธุรารักษ์ และทยา เจนจิตติกุล. (2556). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5: สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล.

ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่. (2558). โครงการจัดการทำแปลงตัวอย่างถาวรป่าเต็งรัง อุทยานแห่งชาติแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดตาก. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2564, สืบค้นจาก http://park.dnp.go.th/file/chaingmai/58/12_28.pdf

เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. (2552). ร้อยพรรณไม้เลื้อยแสนสวย. เศรษฐศิลป์บริษัท วีพริ้นท์.

สามารถ มุขสมบัติ และธัญนรินทร์ ณ นคร. (2538). การใช้ Spiegel Relascope เพื่อจัดสร้างตารางปริมาตรไม้ บริเวณป่าสาธิตเซคเตอร์แม่แหง อำเภองาว จังหวัดลำปาง. กรุงเพทฯ.

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). (2552). ตําราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์. บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน).

องค์การสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์. (2536). ไม้ดอกไม้ประดับ. บริษัท ด่านสุธาการพิมพ์ จำกัด.

อุทิศ กุฏอินทร์. (2542). นิเวศวิทยาพื้นฐานเพื่อการป่าไม้. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.