การพัฒนาอุปกรณ์ไอโอทีเพื่อดักจับหนู

Main Article Content

อิสระพงศ์ อินไผ่
กัลยา เย็นใจ
นฤพนธ์ พนาวงศ์

บทคัดย่อ

หนูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ชอบกัดแทะทำลายสิ่งของและเป็นพาหะนำโรคที่สามารถแพร่กระจายเชื้อมายังมนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ไอโอทีเพื่อดักจับหนู โดยการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งมาประยุกต์ใช้ ภายในอุปกรณ์ประยุกต์ใช้เซนเซอร์อยู่ 2 รูปแบบ คือ เซนเซอร์อัลตราโซนิกและเซนเซอร์อินฟาเรด ถ้ามีหนูเข้ามาในอุปกรณ์ดักจับหนู เซนเซอร์ทั้ง 2 รูปแบบจะส่งสัญญานไปยังบอร์ด ESP32 DevKit V1 เพื่อสั่งให้เซอร์โวมอเตอร์ปิดประตูอุปกรณ์ จากนั้นบอร์ดจะส่งข้อความแจ้งเตือนไปยังแอปพลิเคชันไลน์ของผู้ใช้ รวมถึงผู้ใช้สามารถควบคุมการทำงานเปิด-ปิดอุปกรณ์ผ่านแอปพลิเคชัน Blynk ได้ จากผลการทดสอบความถูกต้องในการทำงานของอุปกรณ์ดักจับหนูพบว่า มีค่าความถูกต้องเฉลี่ยร้อยละ 95.5 ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจร้อยละ 90.2 และเมื่อการเปรียบเทียบการทำงานของทั้งสองอุปกรณ์ พบว่า อุปกรณ์ที่ใช้เซนเซอร์อินฟาเรดจะมีประสิทธิภาพดีกว่าอุปกรณ์ที่เซนเซอร์อัลตราโซนิก

Article Details

How to Cite
อินไผ่ อ., เย็นใจ ก., & พนาวงศ์ น. (2022). การพัฒนาอุปกรณ์ไอโอทีเพื่อดักจับหนู. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 4(2), 114–127. https://doi.org/10.14456/jait.2022.9
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา จันทร์ประเสริฐ (2563). การพัฒนาเครื่องแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางเพื่อผู้พิการทางสายตา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(1), 137-147.

จิราภรณ์ วาสนาเชิดชู, ช่อผกา ลิงประโคน, กนกพร มูลสุวรรณ, ปเนต หมายมั่น และนิพัฒน์ มานะกิจภิญโญ. (2564). ระบบแจ้งเตือนผู้บุกรุกภายในที่พักอาศัยผ่าน Line Notify. ใน การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 9. (หน้า 918-923). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ฉัตรชัย ริบรวมทรัพยา. (2563). เซอร์โวมอเตอร์ (SERVO MOTOR). สืบค้น 14 กันยายน 2564, สืบค้นจาก http://www.advanceelectronic.com/blog/detil/th

ไซเบอร์ไทซ์. (2563). หลักการทำงานของเซนเซอร์แสง. สืบค้น 14 กันยายน 2564, สืบค้นจาก https://www.cybertice.com/product/infrared-photoelec-sensor-module

ธีรพงษ์ เจ๊กวงษ์ และนฤพนธ์ พนาวงศ์. (2562). การพัฒนาระบบควบคุมการเปิด-ปิดโรงรถอัตโนมัติโดยใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. ใน การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 7 (หน้า 1478-1485). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

บริษัท บี เอ็ม แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด. (2564). ความรู้เกี่ยวกับหนู. สืบค้น 14 กันยายน 2564, สืบค้นจาก https://www.doctorplouk.com/archives/1172

ปนัสดา อวิคุณประเสริฐ, อรอุมา วาโยพัด, ธัญญารัตน์ วงศ์เก๋, ธีรยุทธ ชาญนุวงศ์, เพชรากร หาญพานิชย์ และชยานนท์ อวิประเสริฐ. (2560). ประสิทธิภาพเซนเซอร์อินฟาเรดและอัลตราโซนิกในการประยุกต์ใช้งานทางการแพทย์. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว., 33(1), 135-145.

โรบอทสยาม. (2563). ข้อมูลการใช้งาน DOIT ESP32 DevKit V1. สืบค้น 14 กันยายน 2564, สืบค้นจาก http://www.robotsiam.com/product/119/doit-esp32- devkit-v1-development-board

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย. พิมพ์ดีการพิมพ์.

วิทวัส จันพิทักษ์ และกัญญา หาญมนต์ (2561). เครื่องมือตรวจจับพฤติกรรมสัตว์. สืบค้น 14 กันยายน 2564, สืบค้นจาก http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/7237/2/Fulltext.pdf

อดิศร แซ่ฉั่ว. (2563). การใช้งานข้อควรระวังของ ULTRASONIC SENSOR. สืบค้น 14 กันยายน 2564, สืบค้นจาก https://www.omi.co.th/th/arti/ultrasonic-sensor

AB-Maker. (2564). Fritzing ซอฟต์แวร์ออกแบบวงจรและแผ่นปริ้นให้กับ Arduino. สืบค้น 14 กันยายน 2564, สืบค้นจาก https://www.ab.in.th/article/34/fritzing-ซอฟต์แวร์ออกแบบวงจรและแผ่นปริ้นให้กับ-arduino