การประเมินความยั่งยืนเชิงเปรียบเทียบระหว่างระบบสวนทุเรียนพื้นเมืองแบบวนเกษตรและสวนทุเรียนผสมเชิงพาณิชย์บริเวณพื้นที่ต้นน้ำ ตำบลบ้านด่านนาขาม จังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันการใช้ทรัพยากรที่ดินบริเวณแหล่งต้นน้ำของตำบลบ้านด่านนาขาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสวนทุเรียนพื้นเมืองแบบวนเกษตรไปเป็นสวนทุเรียนผสมเชิงพาณิชย์ด้วยการใช้สารเคมีอย่างเข้มข้นในการผลิต ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมและส่งผลต่อความยั่งยืนในการพัฒนาท้องถิ่น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความยั่งยืนของระบบสวนทุเรียนพื้นเมืองแบบวนเกษตรเปรียบเทียบกับระบบสวนทุเรียนผสมเชิงพาณิชย์ ด้วยดัชนีความยั่งยืน 18 ดัชนี โดยจำแนกตามมิติของการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจระดับครัวเรือน ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านนโยบายในท้องถิ่น และด้านสิ่งแวดล้อม จากการสัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนและจากการวางแปลงศึกษาชนิดพรรณไม้และความอุดมสมบูรณ์ของดิน ผลการศึกษาพบว่า สวนทุเรียนพื้นเมืองแบบวนเกษตรมีจำนวนชนิดพันธุ์ของไม้ป่าขนาดใหญ่ จำนวนชนิดพันธุ์พืชที่ใช้ประโยชน์ได้ และปริมาณอินทรียวัตถุในดินมากกว่าสวนทุเรียนผสมเชิงพาณิชย์ (p<0.05) ในภาพรวมชี้ให้เห็นว่าระบบสวนทุเรียนผสมเชิงพาณิชย์มีค่าเฉลี่ยของร้อยละของความยั่งยืนรวมมากกว่าระบบสวนทุเรียนผสมเชิงพาณิชย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.024) โดยเฉพาะความยั่งยืนในมิติด้านสังคมและวัฒนธรรม และมิติด้านสิ่งแวดล้อมมีสูงกว่าระบบสวนทุเรียนผสมเชิงพาณิชย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถใช้ชุดข้อมูลความยั่งยืนของการผลิตทุเรียนทั้ง 2 ระบบ เพื่อจัดทำแผนการใช้ทรัพยากรบริเวณแหล่งต้นน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเสริมสร้างความตระหนักแก่สาธารณะชนถึงผลกระทบของการเปลี่ยนวิถีเกษตรกรรมต่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้แต่งจะต้องกรอกข้อมูลเพื่อโอนลิขสิทธิ์ (copyright) ให้กับวารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์ ก่อนเผยแพร่บทความ โดยดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jait/copyrightlicense
References
กรมพัฒนาที่ดิน. (2553). กระบวนการวิเคราะห์ดินทางกายภาพ. กรมพัฒนาที่ดิน. สืบค้นจาก http://www.ldd.go.th/PMQA/2553/Manual/OSD-04.pdf
จรัณธร บุญญานุภาพ, พนินท์ นนทโคตร, จันทร์เพ็ญ ชุมแสง และพจนีย์ แสงมณี. (2562). การสร้างความยั่งยืนของระบบวนเกษตรต้นแบบบริเวณแหล่งต้นน้ำเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้านธุรกิจทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
สํานักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. (2561). โครงการศึกษาทบทวนการแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำที่เหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและผลกระทบจากการแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำ. รายงานฉบับหลัก. สืบค้นจาก http://nwcc.onwr.go.th/file/2.pdf
Benton, T.G., Vickery, J.A., & Wilson, J.D. (2003). Farmland biodiversity: Is habitat heterogeneity the key?. Trends in Ecology & Evolution, 18(4), 182-188.
Chapman, H.D. (1965). Cation exchange capacity. In C. A. Black (ed.) Methods of soil analysis-Chemical and microbiological properties. Agronomy, 9, 891-901.
COM. (1999). Communication from the Commission to the Council, the European Parliament, the Economic and Social Committee and the Committee of the Regions - Directions towards sustainable agriculture. Retrieved 2 May 2014, Retrieved from http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/?uri=CELEX:51999DC0022.
Cresswell, H.P., & G.J. Hamilton. (2002). Bulk density and pore space relations. In McKenzie, N.J., H. Cresswell, and K. Coughlan (eds.) Soil Physical Measurement and Interpretation for Land Evaluation. A laboratory handbook (pp. 35-58). CSIRO Publishing.
International Labour Organization. (1999). ILO action on safety and health in agriculture. In Safety and Health in Agriculture, International Labour Organization (pp. 77).
Knickel, K., Renting, H.J.D., & van der Ploeg. (2004). Multifunctionality in European agriculture. In F. Brouwer (ed.) Sustaining Agriculture and the Rural Environment. Governance, Policy and Multifunctionality (pp. 81-103). Wallingford: Edward Elgar.
Kohout, L. (1974). The Pinkava many-valued complete logic systems and their application to the design of many valued switching circuits. In International Symposium Multiple-Valued Logic (pp. 261-284). IEEE.
Kuo, S. (1996). Phosphorus. In Sparks, D.L. Page, A.L. Helmke, P.A., Loeppert, R.H., Soltanpour, P.N., Tabatabai, M.A., Johnston, C.T. & Sumner, M.E. (eds.) Method of soil analysis. Part 3 Chemical Methods, Soil. Sci. Soc. America, Inc. and Ameri- can Soc. Agronomy (pp. 869-919).
Van Huylenbroeck, G., Vandermeulen, V., Mettepenningen, E., & Verspecht, A. (2007). Multifunctionality of agriculture: A review of definitions, evidence and instruments. Living Reviews in Landscape Research, 1(3), 1-43.
Walkley, A. and Black, C.A. (1946). Organic carbon, and organic matter. In Sparks, D.L. Page, A.L. Helmke, P.A., Loeppert, R.H., Soltanpour, P.N., Tabatabai, M.A., Johnston, C.T. & Sumner, M.E. (eds.). Methods of Soil Analysis Part 3 Chemical Methods. Soil Sci.