ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นักศึกษาเพื่อสนับสนุนการพิจารณาทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบ พัฒนา ประเมินประสิทธิภาพ และประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นักศึกษาเพื่อสนับสนุนการพิจารณาทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นการนำเสนอข้อมูลนักศึกษา ตำแหน่งที่ตั้งบนแผนที่ใช้เป็นฐานข้อมูลสนับสนุนในการพิจารณาการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา โดยมีกลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน อาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 120 คน ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นักศึกษาเพื่อสนับสนุนการพิจารณาทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา สามารถแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วน 1) ส่วนของนักศึกษา สามารถจัดการข้อมูลส่วนตัว แก้ไขรูปโปรไฟล์ ข้อมูลที่อยู่ และภาพถ่ายที่พักอาศัยได้ 2) ส่วนของอาจารย์ สามารถเรียกดูรายงานสรุปจำนวนนักศึกษาแยกตามจังหวัดในรูปแบบกราฟ และสามารถเรียกดูข้อมูลของนักศึกษาผ่าน Google Map ได้ และ 3) ส่วนของผู้ดูแลระบบ สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลและสิทธิ์การใช้งานของนักศึกษาและอาจารย์ได้ทั้งหมด ซึ่งผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นักศึกษาเพื่อสนับสนุนการพิจารณาทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา จากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยของระบบ ด้านการใช้งานของระบบ และด้านการทำงานของระบบ มีประสิทธิภาพมากที่สุด และผลการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อการใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นักศึกษาเพื่อสนับสนุนการพิจารณาทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้แต่งจะต้องกรอกข้อมูลเพื่อโอนลิขสิทธิ์ (copyright) ให้กับวารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์ ก่อนเผยแพร่บทความ โดยดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jait/copyrightlicense
References
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.). (2561). ความเป็นมากองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.). Retrieved from กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.). สืบค้น 18 พฤศจิกายน 2563), สืบค้นจาก https://www.studentloan.or.th
ตัสนีม กอแตง. (2556). ผลของการเรียนผ่านห้องเรียนเสมือนจริงที่สร้างตามทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี].
ปานจิตร์ หลงประดิษฐ์ และสุรสีห์ น้อยมหาไวย. (2559). แอพพลิเคชันรับรู้และแสดงตำแหน่งสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรีตามการจำแนกกลุ่มของผู้ใช้ด้วยกูเกิ้ลแมพเอพีไอ บนมือถือระบบแอนดรอยด์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 3(1), 71-79.
รสลิน เพตะกร. (2561). ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อจัดการข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยรัชภัฏเชียงใหม่
ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย. (2562, มกราคม 17). ความหมายของคำว่า "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์". Retrieved from ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย. สืบค้น 17 มกราคม 2563, สืบค้นจาก http://www.gisthai.org
สิทธิพร พรอุดมทรัพย์. (2561). การพัฒนาเว็บไซต์การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยความเป็นจริงเสริมและการสำรวจความพึงพอใจผู้ใช้งาน กรณีศึกษาระบบทดลองเสื้อผ้าซิ่นตีนจกเสมือนจริง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 12(1), 37-53.
สิทธิพร พรอุดมทรัพย์. (2561). การพัฒนาเว็บไซต์การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยความเป็นจริงเสริมและการสำรวจความพึงพอใจผู้ใช้งาน กรณีศึกษาระบบทดลองเสื้อผ้าซิ่นตีนจกเสมือนจริง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 12(1), 37-53.
อัตภาพ มณีเติม และคณะ. (2563). การพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ แหล่งเพาะปลูกพืชและไม้ผลเพื่อการผลิตอาหารและการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 2(1), 1-18.
อาคีรา ราชเวียง. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวลุ่มแม่น้ำท่าจีน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28), 37-51.
Akanbi, A.K, & Agunbiade, O.Y. (2013). Integration of a city GIS data with Google Map API and Google Earth API for a web based 3D geospatial application. International Journal of Science and Research, 2(11).
Narkdee, N. (2018). การใช้งาน google map API. Retrieved 14 January 2020, Retrieved from http://www.ninenik.com