การศึกษาผลจากอุณหภูมิต่อโครงสร้างคอนกรีตอัดแรง : กรณีศึกษารถไฟฟ้าสายสีเขียวของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Songpol Charuvisit KU, Faculty of Engineering

คำสำคัญ:

คอนกรีตอัดแรง, AASHTO LRFD, ผลจากอุณหภูมิ

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการก่อสร้างสะพานนั้น ได้มีการใช้โครงสร้างชนิด Precast segmental box girder อย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถช่วยขยายความยาวช่วงของสะพานและช่วยลดต้นทุนการก่อสร้างได้ ในประเทศไทย การออกแบบโครงสร้างดังกล่าวมักอ้างอิงจากมาตรฐาน AASHTO LRFD-2012 ซึ่งพบว่าผลของอุณหภูมิจากมาตรฐานของอเมริกานี้อาจไม่สอดคล้องกับสภาพอุณหภูมิที่แท้จริงในประเทศไทย ดังนั้นงานวิจัยนี้ จึงมุ่งเน้นในการศึกษาผลของอุณหภูมิของโครงสร้าง Precast segmental box girder ทั้งผิวบนและผิวล่างที่เกิดขึ้นไม่เท่ากัน (Temperature Gradient) โดยทำการทดสอบเพื่อวัดการกระจายของอุณหภูมิจริงบนผิวคอนกรีต ณ โรงงานหล่อชิ้นส่วนโครงสร้าง และจำลองโครงสร้างนี้ภายใต้อุณหภูมิต่างๆ ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์แบบ  2 มิติ  เพื่อทำนายพฤติกรรมการขยายตัวชิ้นส่วนโครงสร้าง และ นำค่าความเค้นเนื่องจากอุณหภูมิจริง มาเปรียบเทียบกับค่าความเค้นเนื่องจากผลของอุณหภูมิตามมาตรฐาน AASHTO LRFD-2012 เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าค่าหน่วยแรงตามมาตรฐานมีค่าที่วิกฤติกว่าค่าหน่วยแรงตามอุณหภูมิภาคสนาม แสดงให้เห็นว่าการออกแบบผลของอุณหภูมิตามมาตรฐาน AASHTO LRFD-2012 มีความปลอดภัยเพียงพอต่อโครงสร้าง

เผยแพร่แล้ว

2020-05-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัย
Bookmark and Share