การใช้ฝุ่นหินปูนในคอนกรีตของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี
คำสำคัญ:
ทรายโม่, ฝุ่นหิน, ไซยะบุรีบทคัดย่อ
โครงการไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีเป็นโครงการก่อสร้างงานคอนกรีตขนาดใหญ่ที่มีการใช้คอนกรีต
สูงกว่า 4.3 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีความต้องการใช้ต่อเดือนสูงกว่า 150,000 ลูกบาศก์เมตร
ที่ตั้งโครงการอยู่ในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดเรื่องทรายแม่น้ำเพื่อผสมคอนกรีตที่มีปริมาณไม่เพียงพอ
และมีความละเอียดมากเกินไป บทความนี้นำเสนอเรื่องการนำหินปูนมาทำการโม่ให้เป็นทราย
ซึ่งทรายที่ได้จากการโม่จะมีความหยาบและคม เมื่อนำมาผสมกับทรายแม่น้ำจะได้ขนาดคละที่
ดีเหมาะสมกับการผลิตคอนกรีต แต่ทรายโม่มีปริมาณฝุ่นหินที่มีขนาดเล็กกว่า 75 ไมครอนหรือ
ผ่านตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 200 ในปริมาณที่สูงกว่ามาตรฐาน ASTM C33 และข้อกำหนด
ของโครงการฯ ซึ่งวิธีการที่จะกำจัดวัสดุละเอียดออกเพื่อให้ได้ขนาดคละของทรายตาม
มาตรฐานนั้น ต้องทำการล้างด้วยน้ำผ่านตะแกรง ซึ่งพบว่าต้องใช้น้ำจำนวนมากจากแม่น้ำมา
ทำการล้าง โดยการล้างน้ำดังกล่าวทำให้ปริมาณการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ ขนาด
คละไม่ดี เสียเวลา และเพิ่มค่าใช้จ่าย โครงการจึงได้ทำการทดสอบคุณสมบัติของฝุ่นหิน และ
พบว่าฝุ่นหินสามารถนำมาใช้แทนทรายผสมคอนกรีตได้โดยไม่ต้องล้าง จึงได้นำมาทำ
ตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพและเคมี และพบว่าฝุ่นหินมีคุณสมบัติเทียบเท่าทราย จึงได้ทำ
การทดลองผสม (Trial Mix) เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติด้านกำลังอัด การปั๊ม อัตรากินน้ำ และ
พบว่าสามารถผลิตคอนกรีตให้ได้คุณสมบัติตามที่ต้องการ และไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพ
คอนกรีต ดังนั้นจึงได้นำไปใช้ในการก่อสร้างของโครงการฯ ทั้งหมด คือคอนกรีต Strength
Class 25, 35, 50 MPa, Self-Compacting Concrete, Roller Compacted concrete,
Precast concrete, Backfill concrete, Silica fume concrete และไม่พบปัญหาที่เกิดขึ้น
จากการใช้ในทรายที่มีวัสดุละเอียดจำนวนมากดังกล่าวต่อโครงสร้างของคอนกรีตแต่อย่างใด