การชักนำให้เกิดยอดทวีคูณในส้มโอสายพันธุ์ทองดี
Main Article Content
Abstract
ส้มโอพันธุ์ทองดีเป็นหนึ่งในผลไม้เขตกึ่งร้อนที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆในพื้นที่จังหวัดนครปฐม แต่จากปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ที่ผ่านมาทำให้ต้นส้มโอได้รับความเสียหายและตายไปเป็นจำนวนมาก งานวิจัยนี้จึงศึกษาวิธีชักนำให้เกิดยอดทวีคูณจากชิ้นส่วนเนื้อเยื่อปลายยอดของต้นส้มโอพันธุ์ทองดี โดยนำเมล็ดส้มโอมาทำความสะอาดโดยการฟอกฆ่าเชื้อและนำมาเพาะเลี้ยงในอาหารสูตร MS เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่าเมล็ดที่ไม่พบการปนเปื้อนอยู่ระหว่าง 60.3 – 80.23% จากนั้นนำเนื้อเยื่อปลายยอด และชิ้นส่วนข้อจากต้นอ่อนที่ได้ไปเลี้ยงในอาหารสูตร MS ร่วมกับ BA ความเข้มข้น 2.22 – 8.87 ไมโครโมลาร์ หรือ เลี้ยงในอาหารสูตร MS ร่วมกับ BA ความเข้มข้น 2.22 – 8.87 ไมโครโมลาร์ ร่วมกับ IBA1.23 ไมโครโมลาร์ ผลการทดลองพบว่าอาหารสูตร MS ร่วมกับ BA4.44 ไมโครโมลาร์ และ IBA1.23 ไมโครโมลาร์ ชักนำให้เกิดยอดทวีคูณได้มากที่สุดเท่ากับ 5.0 ยอด และมีใบ 29.3 ใบจากชิ้นส่วนเนื้อเยื่อปลายยอดอย่างไรก็ตามพบว่าอาหารสูตร MS ร่วมกับ BA4.44 ไมโครโมลาร์ เพียงอย่างเดียวชักนำให้เนื้อเยื่อส่วนข้อเกิดยอดทวีคูณได้มากที่สุดเท่ากับ 5.6 ยอด และมีใบ 32.2 ใบ
Pomelo (Citrus maxima) cv. ‘Thongdee’ was one of the important tropical fruit in NakhonPathom province. Multiple shoot induction of pomelo was carried out for micropropagation and germplasm preservation to reduce the loss due to flooding. Seeds were collected and surface-disinfected, then cultured on MS medium for 8 weeks. It was found 60.3 – 80.23% sterile condition from surface sterilization of seeds. Then, shoots and nodes from seedlings were cultured on MS medium supplemented with 2.22 – 8.87 µM BA alone or in combinations with 1.23 µM IBA. MS medium supplemented with 4.44 µM BA and 1.23 µM IBA was suitable for multiple shoot induction from a shoot explant obtaining 5.0 shoots with 29.3 leaves. However, MS medium supplemented with 4.44 µM BA was appropriate for a node explant providing 5.6 shoots with 33.2 leaves.