การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหัวข้อความหลากหลายของเห็ดรา ในรายวิชาเห็ดราวิทยา โดยใช้การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

Main Article Content

เอกพันธ์ บางยี่ขัน

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้หัวข้อความหลากหลายของเห็ดราในรายวิชาเห็ดราวิทยาด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของรายวิชา ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสำรวจความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบทีของสติวเดนท์ (Student’s t-test)

            ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้หัวข้อความหลากหลายของเห็ดรา ในรายวิชาเห็ดราวิทยา ที่มีกิจกรรมแบบใช้ปัญหาเป็นฐานมีความสัมฤทธิ์ผล 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังจากการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 3.69

 

            The purposes of this research were 1) to develop the learning activity on the topic of fungal diversity in Mycology subject by using problem-based learning (PBL), 2) to compare the learning achievement between before and after applying PBL in learning activity, and  3) to survey the student’s opinions toward the learning activity using PBL technique. The target group was 31 2nd-year undergraduate students with a major of Microbiology, Faculty of Science, Silpakorn University, who studied in the second semester of academic year 2014.  The instruments used in this research were 1) the instructional plan, 2) the learning achievement test and 3) the questionnaire for learning activity.  Data were analyzed by using mean, standard deviation and Student’s t-test.

            The results of this research were 1) the learning activity in topic of fungal diversity in Mycology subject by using PBL was accomplishment, 2) the learning achievement of the students after applied BPL to the course was significantly higher than that before using PBL (p £ 0.05) and 3) the evaluation of student’s opinions toward the learning activity using PBL technique was in a good level,

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology