ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง

Main Article Content

ธัญชนก ขุมทอง
วิราภรณ์ โพธิศิริ
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง

Abstract

           การวิจัยนี้เป็นวิจัยแบบผสมผสานใช้วิจัยเชิงปริมาณตามด้วยวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และ(2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 1,138 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกในประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับสูง (92-114 คะแนน) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

           1. ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง โดยจำแนกตามปัจจัยต่างๆ ดังนี้ ปัจจัยทางประชากร ได้แก่ เพศ อายุ ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ การศึกษา สถานภาพสมรส เขตที่อยู่อาศัย ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้ และความรอบรู้ดานสุขภาพ พบว่า ประชากรกลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60.5 มีอายุเฉลี่ย 41.29 ปี มีระดับการศึกษาประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 47.1 ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส คู่สมรสอยู่ด้วยกัน คิดเป็นร้อยละ 60.8 ส่วนใหญ่อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล คิดเป็นร้อยละ 66.1 ส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ระหว่าง 50,000-100,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 48.6

            2. ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพต่ำมากที่สุด จำนวน 714 คน คิดเป็นร้อยละ 62.7 รองลงมามีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพปานกลาง จำนวน 406 คน คิดเป็นร้อยละ 35.7 และมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพสูง จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6

            3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย 1) แรงจูงใจภายในตัวบุคคล 2) การให้บริการเชิงรุกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และ 3) ครอบครัว ญาติและเพื่อน ในการส่งเสริมให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับสูง

            การจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงต้องคำนึงถึงทั้ง 3 ปัจจัย เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน

 

           This research is Mixed Method Research based on Qualitative Research and Quantitative Research that has objectives: Firstly, it studies the level of health literacy for people at risk of Diabete Mellitus and Hypertension. Secondly, it studies the factors Influencing Health Literacy for people at risk of Diabete Mellitus and Hypertension of UthaiThani and Ang Thong. The tool used were questionnaires and interviews. The example group of this research were 1,138 people at risk of ofDiabete Mellitusand Hypertension of UthaiThani and Ang Thong and in-depth interview for people at risk at high level of health literacy (score 92-114). Statistics used for analysis included percentage, mean and standard deviation.

            The findings of this research were as follows:

                 1) The general characteristics of samples, classified according to relevant factors were as follows: Demographic Factors such as sex and age, Social Factors such as education, marital status and region, Economic Factors such as income and Health Literacy showed that the majority of samples were female at 60.5 percent, the average ages of 41.29, having primiary school at 47.1 percent, married at 60.8 percent, resident district at 66.1 percent and the range of income between 50,000-100,000 baht at 48.7 percent.

                  2) The level of health literacy were as follow : the majority of samples have 714 people of low health literacy at 62.7 percent, 406 people of moderate level of Health Literacy at 35.7 percent and 18 people of level of Health Literacy at 1.6 percent.

                  3) The study of factors influencing the high level of health literacy of people at risk consist of Personal Motivation, Proactive Services of Personal Healthcare and Village Health Volunteer and Family Cousin and Friend. All factors supported high level of health literacy to people at risk.

            Learning process in community could be considered by 3 factors to reduce risk of Diabete Mellitus and Hypertension for guideline supports solving health problem in community.

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology