การวิเคราะห์ปัจจัยข้อมูลของอัตราส่วนทางการเงินของสหกรณ์ภาคการเกษตรและ สหกรณ์นอกภาคการเกษตร ประจำปี 2558

Main Article Content

เกรียง กิจบำรุงรัตน์

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางเสถียรภาพทางการเงินของสหกรณ์ในประเทศไทยประจำปี 2558 โดยใช้ข้อมูลจากงบการเงินของอัตราส่วนทางการเงิน 22 ตัวแปร จากการวิเคราะห์ CAMEL ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยข้อมูลเสถียรภาพทางการเงินของสหกรณ์ในประเทศไทยประกอบ ด้วย 4 ปัจจัยคือ 1) ปัจจัยด้านความสามารถในการทำกำไร (ขาดทุน) เงินออมต่อสมาชิกและอัตราค่าใช้จ่ายดำเนิน งานต่อกำไร 2) ปัจจัยด้านผลตอบแทนอัตราการเติบโตของทุน ทุนสำรองของสหกรณ์ อัตราส่วนทุนสำรองต่อสินทรัพย์ และอัตราส่วนทุนหมุนเวียนของสหกรณ์ 3) ปัจจัยด้านสภาพคล่องของอัตราส่วนการชำระหนี้ของสหกรณ์ และ 4) ปัจจัยด้านประสิทธิภาพของอัตราการเติบโตของธุรกิจ สินทรัพย์ หนี้สินและทุนสะสมของสหกรณ์ ส่วนในการวิเคราะห์จำแนกประเภทในการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อเสถียรภาพทางการเงินของสหกรณ์ภาคการเกษตร และสหกรณ์นอกภาคการเกษตรสามารถจัดกลุ่มข้อมูลจากงบการเงินได้อัตราส่วนการเงินจาก 3 ตัวแปร คือ อัตราการค้างชำระของลูกหนี้ (X21), อัตราหมุนเวียนของสินค้า (X52)  และอัตราลูกหนี้ระยะสั้นที่ชำระได้ตามกำหนด (X54) ซึ่งจะได้ตัวแบบปัจจัยที่ใช้จำแนกกลุ่ม Fihser’s Linear discriminant function (FLDF) คือ D =-215.711+3.758X21-0.755X31-0.138X44+2.086X54 โดยที่ปัจจัยที่ใช้จำแนกกลุ่มคือ อัตราการค้างชำระของลูกหนี้ (X21), อัตราส่วนอัตราการเติบโตธุรกิจ (X31), อัตราส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน (X44) และอัตราลูกหนี้ระยะสั้นที่ชำระได้ตามกำหนด (X54) สำหรับการวิเคราะห์จำแนกประเภทแบ่งกลุ่มของกลุ่มสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มสหกรณ์นอกภาคการเกษตรด้วยตัวแบบปัจจัยที่ใช้จำแนกกลุ่ม Fisher's linear discriminant functions จะได้กลุ่มตัวแบบสหกรณ์ภาคการเกษตร คือ D1=-32432.7+956.819X21-192.315X31-35.105X44+ 533.292 X54 และตัวแบบกลุ่มสหกรณ์นอกภาคการเกษตรคือ D2=-17584.10+703.799X21-141.479X31-25.795X44+2.086X54

 

          The purpose of this research is to analyze stability financial factors of Thai Cooperatives in 2015. The variables of this research are 22 financial ratios from CAMEL analysis. The result of the study is found that the stability financial data factors of Thai Cooperatives consist of 4 factors that 1) Ability to make profit from growth ratio, business growth ratio and operational expense ratio factors. 2) Efficiency of return and return on asset. 3) Liquidity adequacy for debt factors. 4) Growth rate of business, capital, debtor and current ratio factors. The study results revealed that the discriminant analysis for classifying groups of agricultural cooperatives and non-agricultural cooperatives. It can accurately classify the groups by using 3 financial ratios which are the arrears debtor ratio (X21), the circulator of goods ratio (X52) and the short-term debtor ability ratio (X54). The resulted Fihser’s Linear discriminant function (FLDF) model for classifying groups are D=-215.711+3.758X21-0.755X31-0.138X44+2.086X54. Factors classify groups are the arrears debtor ratio (X21), the business growth ratio (X31), the operation expense ratio (X44) and the shot-term debtor ability ratio (X54). The resulted discriminant analysis model for classifying groups of agricultural cooperatives and non-agricultural cooperatives are D1=-32432.7+956.819X21-192.315X31-35.105X44+533.292X54 and D2=-17584.10+703.799X21-141.479X31-25.795X44+2.086 X54.

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology