การระบุเพศจาก Greater Sciatic Notch และ Acetabulum จากโครงกระดูกกลุ่มตัวอย่างในประชากรไทย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ หาค่าและเปรียบเทียบดัชนีเพื่อทดสอบความแม่นยำในการระบุเพศจาก Greater Sciatic Notch และ Acetabulum จากโครงกระดูกกลุ่มตัวอย่างในประชากรไทย
กลุ่มตัวอย่าง คือ กระดูกเชิงกรานจากอาจารย์ใหญ่ จำนวน 200 ตัวอย่างที่มีช่วงอายุระหว่าง 20-83 ปี จากห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ สถิติ Independent sample t-test และ Discriminant function analysis จุดที่ทำการวัดมี 3 จุด คือ 1) WIDTH คือ การวัดความกว้างของ Greater Sciatic Notch คือวัดจากฐานของ ischial spine ( A) จนถึง pyramidal process(B ) 2) DIAMETER คือ การวัดความกว้างของเส้นผ่านศูนย์กลางของ acetabulum ในแนวตั้ง และ 3) INDEX คือ สัดส่วนของระหว่างความกว้างของ greater sciatic notch และเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวตั้ง ของ acetabulum จากผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ความกว้าง (WIDTH) และค่าดัชนีของกระดูกเชิงกรานในเพศชายต่ำกว่าเพศหญิง ส่วนค่าความกว้างของเส้นผ่าศูนย์กลางกระดูกเชิงกราน (DIAMETER) พบว่า เพศชายจะมีความกว้างของเส้นผ่าศูนย์กลางกระดูกเชิงกรานสูงกว่าเพศหญิงจากการตรวจสอบความแม่นยำในการระบุเพศจากกระดูกเชิงกรานของเพศชายและเพศหญิง พบว่าค่า WIDTH และค่า DIAMETER ไม่สามารถนำไปวิเคราะห์และระบุได้อย่างชัดเจนว่ากระดูกเชิงกรานในส่วน Greater Sciatic Notch เป็นของเพศชายหรือเพศหญิง
The purpose of this research was to find index for precision testing of sex identification based on Greater Sciatic Notch and Acetabulum among Thai citizen.
The sample group for bone investigation included pelvic bones from 200 cadavers aged between 20 and 83 years in Gross Anatomy Laboratory of the Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University. Statistics applied in the study included Independent sample t-test and Discriminant function analysis. The research focused on three following points: 1) measuring Greater Sciatic Notch WIDTH: from ischial spine (A) to pyramidal process (B) 2) measuring DIAMETER of acetabulum in vertical direction and 3) finding the INDEX of the ratio of greater sciatic notch width and vertical acetabulum diameter. Findings from the research suggest that male WIDTH and pelvic INDEX were lower than those of female while DIAMETER of male pelvic bone was higher than that of female. With respect to verification of sex identification precision based on male and female pelvic bone, it was discovered that WIDTH and DIAMETER could not be an object for analysis and clearly identifying if such Greater Sciatic Notch belongs to male or female subject.