การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พฤติกรรมการทำงานกลุ่มและเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย โดยใช้วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ STAD

Main Article Content

ชไมพร รังสิยานุพงศ์
รัตนา ศรีทัศน์
พินดา วราสุนันท์

Abstract

           การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นม.5/3 โดยใช้วิธีการสอนแบบ STAD โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้ 1.1 เพื่อศึกษาคะแนนพัฒนาการระหว่างเรียน เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โดยใช้วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ STAD 1.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โดยใช้วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ STAD หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 702) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นม.5/3 ระหว่างจัดการเรียนการสอนแบบ STAD และ 3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นม.5/3 โดยใช้วิธีการสอนแบบ STAD หลังเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นม.5/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีการสอนแบบ STAD 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ แบ่งออกเป็น 4 ฉบับย่อย 3) แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม โดยใช้วิธีการสอนแบบ STAD 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีการสอนแบบ STAD วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนชั้นม.5/3 ที่ได้รับวิธีการสอนแบบ STAD มีคะแนนพัฒนาการระหว่างเรียนสูงขึ้นตามลำดับ และผลสัมฤทธิ์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 รวมทั้งคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2. พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียน ระหว่างจัดการเรียนการสอนแบบ STAD มีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับดี 3. นักเรียนที่ได้รับวิธีการสอนแบบ STAD มีเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ระดับดีขึ้นไป

 

            The purposes of the research were 1) to study mathematics learning achievement on probability of matthayom 5/3 students through STAD method 2) to study group working behaviors of matthayom 5/3 students during being taught by STAD method and 3) to study matthayom 5/3 students’ attitude towards STAD method. The sample consisted of 33 matthayom 5/3 students of Amphawan Witthayalai School in the first semester of academic year 2016. The research instruments used to collect data were 1) mathematics lesson plans based on STAD method 2) 4 mathematics achievement tests 3) students’ group working behaviors observation checklists 4) Questionnaire of attitude towards mathematics taught by STAD method. The data were statistically analyzed by mean, standard deviation, and T-test. The findings revealed as follows: 1. Matthayom 5/3 students after being taught by STAD method gained higher mathematics learning achievement than prior to learning. The learning achievement was statistically higher than the criterion score at 70% at the .05 level of significance. 2. The group working behaviors of students during taught by STAD method was at the good level. 3. Matthayom 5/3 students had the attitude towards mathematics after being taught by STAD method at the high level up at the .05 level of significance.

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology