การศึกษาปริมาณน้ำไหลบ่าหน้าดินและอัตราการชะล้างพังทลายดินเพื่อวางแผนอนุรักษ์ พื้นที่ลุ่มน้ำขนาดเล็กด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

Main Article Content

คมสัน คีรีวงศ์วัฒนา

Abstract

           การศึกษาครั้งนี้นำข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน ข้อมูลลักษณะทางปฐพีวิทยาข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา และข้อมูลลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ศึกษามาใช้เพื่อประเมินปริมาณน้ำไหลบ่าหน้าดินด้วยวิธีการ Natural Resources Conservation service-Curve Number (NRCS-CN) และประเมินอัตราการชะล้างพังทลายดินด้วยแบบจำลอง Morgan-Morgan and Finney (MMF) จากนั้นนำข้อมูลปริมาณน้ำไหลบ่าหน้าดินและอัตราการชะล้างพังทลายดินที่ประเมินได้มาใช้เพื่อบริหารจัดการลุ่มน้ำตามหลักการอนุรักษ์ลุ่มน้ำต่อไป

           ผลการศึกษาศักยภาพและปริมาณน้ำไหลบ่าหน้าดินพบว่า ศักยภาพน้ำไหลบ่าหน้าดินมีค่าอยู่ระหว่าง 25-100 มิลลิเมตร เฉลี่ย 53.13 มิลลิเมตร มีปริมาณน้ำไหลบ่าหน้าดิน 214.58 มิลลิเมตร จากปริมาณน้ำฝนทั้งหมด 955 มิลลิเมตร คิดเป็นร้อยละ 22.47 รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำไหลบ่าหน้าดินแบบโพลิโนเมียลลำดับที่ 2 ที่ระดับความสัมพันธ์ร้อยละ 97 น้ำไหลบ่าหน้าดินจะเกิดเมื่อมีปริมาณฝนตกมากกว่า 10 มิลลิเมตรต่อวัน และพบว่ามีอัตราการชะล้างพังทลายดินระหว่าง 0 - 23.37 กิโลกรัมต่อตารางเมตร อัตราการชะล้างพังทลายดินเฉลี่ย 1.16 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จากข้อมูลศักยภาพและปริมาณน้ำไหลบ่าหน้าดินสามารถกำหนดตำแหน่ง และลำดับความสำคัญของการสร้างฝายต้นน้ำเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำทั้งหมด 35 ตำแหน่ง สำหรับมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรดินแนะนำให้ปรับพื้นที่เพาะปลูกเป็นขั้นบรรไดสำหรับพื้นที่ที่อัตราการชะล้างพังทลายดินสูงถึงสูงมาก (มากกว่า 15 ตันต่อไร่ต่อปี) ใช้วิธีการปลูกพืชตามแนวระดับสำหรับพื้นที่ ที่อัตราการชะล้างพังทลายดินปานกลาง (5-15 ตันต่อไรต่อปี) และใช้วิธีการการปลูกพืชสลับกับหญ้าแฝกสำหรับพื้นที่ที่มีอัตราการชะล้างพังทลายดินน้อย ( 2-5 ตันต่อไร่ต่อปี) พร้อมกับทำการขุดลอกตะกอนในลำน้ำเพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับน้ำของลำธารในพื้นที่ลุ่มน้ำด้วย

 

           In present study, land use and land cover, soil, slope and meteorological data were used to assess runoff through Natural Resources Conservation service-Curve Number (NRCS-CN) method and calculate soil erosion rate through Morgan-Morgan and Finney (MMF) with Geo-informatics technology. Therefrom, run off and soil erosion rate of study area were used to derive watershed conservation plan.

           The results show that, there are run off potential between 25-100 mm. and 53.13 in average. There are run off 214.58 mm. out of 955 mm. (22.47%) of rain that was fall in year 2013. The relationship of rainfall and run off is polynomial 2 degree at 97%. Run off will happen when rain are fall more than 10 mm. per day. There are soil erosion rate between 0-23.37 km. per m2 and 1.16 km. per m2 in average. From run off and soil erosion rate, the check dam and soil conservation methods are introduce. There are 35 suitable point of check dam for water resource conservation. Researcher are introduce agronomical method in low erosion rate area (2-5 ton/rai/year), contour bounding in medium erosion rate area (5-15 ton/rai/year) and do terrace in high and very high erosion rate area (more than 15 ton/rai/year), especially in agriculture lands.

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology