องค์ความรู้ และทักษะเบื้องต้นสำหรับงานเภสัชกรรมครอบครัว

Main Article Content

วิวัฒน์ ถาวรวัฒนยงค์

Abstract

           งานเภสัชกรรมครอบครัว มิติใหม่ของงานเภสัชกรรมปฐมภูมิที่ทำหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวที่เกี่ยวกับกับการใช้ยาโดยครอบคลุมมิติการดูแลแบบองค์รวมมีการใช้เครื่องมือในการทำงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพที่ประกอบด้วยทักษะการสร้างสัมพันธภาพ ทักษะการถาม การเงียบ ทักษะการฟัง ทักษะการทวนความ สรุปความ สะท้อนความรู้สึก ทักษะการให้ข้อมูล คำแนะนำ ทักษะการเสนอทางเลือกและทักษะการให้กำลังใจ เครื่องมือการสื่อสารต่างๆเหล่านี้จะทำให้เกิดความรู้สึก การเอาใจใส่เกื้อกูลระหว่างเภสัชกรกับผู้ป่วย/ผู้รับบริการจนนำไปสู่การไว้วางใจซึ่งกันและกัน เครื่องมือถัดมาคือเครื่องมือทางเวชศาสตร์ครอบครัวได้แก่ เครื่องมือที่ใช้สืบค้นโรคจากยา ทุกข์จากยา : IFFE; เครื่องมือที่ช่วยเยียวยาใจผู้ป่วย/ผู้รับบริการ : BATH; เครื่องมือตรวจสุขภาพครอบครัว : INHOMESSS ซึ่งส่วนหนึ่งขององค์ประกอบเครื่องมือชนิดนี้ประกอบด้วย การประเมินปัญหาทางเภสัชกรรมจากยาที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่โดยใช้หลัก 4 C การประเมินทุกข์จากยาทางด้าน Drug Related Problems, Drug Related Sufferings, Drug System in Primary setting และสุดท้ายเครื่องมือการเรียนรู้ชุมชนเช่นผังเครือญาติ แผนที่ชุมชน ประวัติชุมชน ปฏิทินกิจกรรม หากเภสัชกรมีองค์ความรู้ ทักษะการใช้เครื่องมือต่างๆเหล่านี้และสามารถนำไปใช้ผสมผสานกับการทำงานเภสัชกรครอบครัวแล้ว จะทำให้การทำงานเภสัชกรรมครอบครัวมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถดูแลผู้ป่วย/ผู้รับบริการตลอดจนครอบครัวของผู้ป่วย/ผู้รับบริการที่คำนึงถึงบริบททั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณของผู้ป่วย/ผู้รับบริการนั้นๆ จนท้ายที่สุดอาจนำไปสู่การดูแลชุมชนร่วมกัน

 

           Family pharmacy, a new dimension of primary pharmacy, plays a role in taking care drug use of patients and family by holistic approach. To work effectively, some tools are applied. First tool is an effective communication covering relationship building, questioning, silent, listening, rephrasing, conclusion, reflection, information providing, recommendation, alternative proposing, and encouragement skills.These communication skills create carefulness and then trustfulness between a pharmacist and a patient. Second tool is a family medicine tool including a tool investigates a disease from a medicine: IFFE, a tool heals a patient’s heart: BATH, and a tool assesses a family health: INHOMESSS. The components of this tool are evaluation of drug-related problem using 4C, drug-related suffering, and drug system in primary setting. The last tool is community learning such as family tree, community map, community history, activity calendar. A pharmacist who has knowledge and skills applying these tools with family pharmacy will work effectively. This concept can help a pharmacist take care of a patient and a family with physical, mental, societal, and spiritual dimensions. Finally, the community will be taking care from both a pharmacist and a patient.

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology