การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเรื่อง การใช้ยารักษาอาการปวดหลังส่วนล่างเพื่อเป็นหลักฐานสนับสนุนการใช้ยารักษาอาการปวดหลังส่วนล่างสำหรับเภสัชกรชุมชน
Main Article Content
Abstract
ปัจจุบันประชากรไทยที่อาศัยในชนบทอายุมากกว่า15 ปีมีอุบัติการณ์ของอาการปวดหลังส่วนล่างประมาณร้อยละ 4 เมื่อพิจารณาแนวทางการรักษาที่จัดทำขึ้นในหลายประเทศส่วนใหญ่เป็นแนวทางปฏิบัติที่ใช้สำหรับโรงพยาบาล ในฐานะที่ร้านยาเป็นแหล่งให้บริการปฐมภูมิที่ประชาชนเข้าถึงได้เป็นอันดับแรก งานวิจัยฉบับนี้จึงทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับประสิทธิผลในการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างด้วยยาภายใต้บริบทร้านยาของประเทศไทย เพื่อให้สามารถนำผลงานวิจัยไปเป็นข้อมูลสนับสนุนการจัดทำแนวทางการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างด้วยยาต่อไป การศึกษานี้ทำการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ PubMed โดยใช้ MeSH Term ร่วมกับคำสำคัญในการสืบค้นรวมถึงการสืบค้นด้วยมือโดยคัดเลือกงานวิจัยรูปแบบ Randomized Controlled Trial (RCT) ตั้งแต่วันที่ 15-30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 มีงานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกทั้งหมด 19 เรื่องจาก 504 เรื่อง โดยมี 14 เรื่องที่ผ่านเกณฑ์ประเมินคุณภาพงานวิจัยตาม Maastricht-Amsterdam scale list ผลงานวิจัยพบว่า ในกลุ่มที่เป็น Acute low back pain มีงานวิจัยทั้งหมด 4 เรื่องเน้นการศึกษายากลุ่ม Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs), Muscle relaxants, Opioidan algesias และยาสูตรผสม สำหรับกลุ่มที่เป็น Chronic low back pain พบงานวิจัยทั้งหมด 10 เรื่องเน้นการศึกษายากลุ่ม NSAIDs, Opioidanalgesias, Topical analgesics, Antidepressants, Antiepileptics และยาสูตรผสม จากการศึกษาพบยาที่มีประสิทธิผลในการรักษา Acute low back pain ได้แก่ Diclofenac-K, Ibuprofen, Tramadol, Carisoprodol, ยาสูตรผสมระหว่าง Diclofenac-K กับ Vitamin B และ Paracetamol กับ Tramadol ส่วนยาที่มีประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วย Chronic low back pain ได้แก่ Etoricoxib, Celecoxib, Piroxicam, Piroxicam beta-cyclodextrin sachets, Capsicum plaster, Amitriptyline, Pregabalin, และยาสูตรผสม ระหว่าง Paracetamol กับ Tramadol ซึ่งสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปเป็นหลักฐานสนับสนุนการจัดทำแนวทางการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างด้วยยาภายใต้บริบทร้านยาของประเทศไทยต่อไป
Nowadays, Thai population in rural areas who are older than 15 years old have the incidence of low back pain about 4 percent. Most of Low back pain treatment guidelines in several countries focus mainly on hospital practice. On the contrary, community pharmacies which are primary services that are available to public access, have more limited practice guidelines. This systematic review summarized with the effectiveness of drug used for Low back pain in the context of Thailand, aim to provide evidences for support the development of practice guidelines for community pharmacist in the future. Data was collected from Randomized controlled trials in PubMed using MeSH Terms. Researcher retrieved data until 30 December 2015. A total of 504 papers downsized to 19 papers. The quality of data was evaluated using Maastricht-Amsterdam scale list. A total of 4 acute low back pain trials were included. Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs), Muscle relaxants, Opioid analgesics and combinations were studied. The total of 10 chronic low back pain trials were included. NSAIDs, Opioid analgesics, Topical analgesics, Antidepressants, Antiepileptics and combinations were studied. This systematic review reported the efficacy of Diclofenac-K,Ibuprofen, Tramadol, Carisoprodol, combinations of Diclofenac-K and Vitamin B, and combinations of Paracetamol and Tramadol in acute low back pain. For chronic low back pain, efficacy of Etoricoxib, Celecoxib, Piroxicam, Piroxicam beta-cyclodextrin sachets, Capsicum plaster, Amitriptyline, Pregabalin, and combinations of Paracetamol and Tramadol were reported for pain relief. These evidences can be used to support the development of Low back pain practice guidelines or recommendations for community pharmacist consequently.