การสอบเทียบผลการตรวจวัด PM2.5 จากเครื่องตรวจวัดแบบเรียลไทม์และ วิธีวิเคราะห์เชิงน้ำหนัก
Main Article Content
Abstract
การศึกษานี้เปรียบเทียบผลการตรวจวัดฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5ไมโครเมตร (PM2.5) ภายในอาคาร โดยใช้เครื่องดัสแทร็ค 8530 ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจวัดอนุภาคแบบเรียลไทม์ ส่วนการเก็บตัวอย่างด้วยวิธีเชิงน้ำหนักซึ่งเป็นวิธีอ้างอิง ใช้หัวคัดขนาดคือเครื่อง Personal Environment Monitor (PEM) ในการเก็บตัวอย่างตั้งเครื่องเก็บตัวอย่างทั้ง 2 ชนิด ในสถานที่เดียวกัน โดยเก็บตัวอย่างทั้งหมด 60 ครั้ง ในช่วงเดือนกรกฎาคม – มีนาคม 2558 จากนั้นนำความเข้มข้นของ PM2.5 ที่ได้จากทั้งสองวิธีไปวิเคราะห์หาสมการถดถอยแบบเส้นตรงผลการทดสอบการกระจายของข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือทั้งสองชนิดพบว่ามีการกระจายแบบปกติ โดยความเข้มข้นของ PM2.5 ที่ได้จากเครื่องดัสแทร็ค 8530 มีค่าอยู่ในช่วง 0.01 – 0.24 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (โดยมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.05 และ 0.04 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ) ส่วนค่าที่ได้จากเครื่อง PEM มีค่าอยู่ในช่วง 0.00 – 0.54 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยมีค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.27 และ 0.42 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ) ผลการศึกษาพบว่า ระดับของ PM2.5 ที่ได้จากเครื่องดัสแทร็ค 8530 มีค่าต่ำกว่าค่าที่ได้จากเครื่อง PEM อย่างไรก็ตามข้อมูลทั้งสองชุดมีความสัมพันธ์กัน (R2 = 0.940) และสมการถดถอยแบบเส้นตรงที่ได้มีความน่าเชื่อถือสูง (ความผิดพลาดมาตรฐาน = 0.011) ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ความถูกต้องของผลการตรวจวัดด้วยเครื่องดัสแทร็ค 8530 สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นด้วยสมการถดถอยแบบเส้นตรง
In this study indoor PM2.5 collected using real-time particle monitor, DustTrak 8530 and Personal Environmental Monitor (Reference gravimetric method) using Personal Environment Monitor (PEM) were compared. Two types of samplers were colocated and operated for 60 sampling periods during January-March 2015. PM2.5 concentrations acquired from two methods were statistically analyzed using linear regression. Average PM2.5 concentrations collected using DustTrak 8530 and Personal Environment Monitor were normally distributed. Average PM2.5 concentrations obtained from DustTrak 8530 ranged from 0.01 to 0.24 mg×m-3 (with mean and standard deviation of 0.05 and 0.04 mg×m-3, respectively). Average concentrations of PM2.5 concentration obtained from Personal Environment Monitor were found beween 0.00 to 0.54 mg×m-3 with mean and standard deviation of 0.27 and 0.42 mg×m-3, respectively. The results showd that PM2.5 levels obtained from DustTrak 8530 were lower than those collected from Personal Environmental Monitor. However, average PM2.5 levels of both data setshowed good correlation (R2 = 0.940) and the linear regression revealed substantial reliability (S.E. = 0.011). Therefore, it could be concluded that the accuracy of DustTrak 8530 measurement can be improved by linear regression equation.