ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง

Main Article Content

ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ
กมลพรรณ วัฒนากร
ขวัญตา กลิ่นหอม
พัชรนันท์ รัตนภาค

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง โปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอยู่บนแนวคิดเชิงนิเวศน์ มีการให้ความรู้ ฝึกการออกกำลังกายโดยใช้รำไม้กระบอง การรับประทานอาหารและการจัดการความเครียด โดยมีครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขมามีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง อาศัยอยู่ในตำบลหนองพลับ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 38 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 19 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม จำนวน 4 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คู่มือสำหรับกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และเครื่องวัดความดันโลหิต มีการประเมินก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ independent t-test

            ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และระดับความดันโลหิตหลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และหลังจากกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพมากกว่าและมีระดับความดันโลหิตน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ และจากผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพและลดระดับความดันโลหิต ดังนั้นพยาบาลควรนำโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านไปใช้กับกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง เพื่อควบคุมความดันโลหิตโดยเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ควรติดตามผลของโปรแกรมในระยะยาวขึ้น

 

            The purpose of this quasi-experimental research was to study the effects of the family and village health volunteer participation program on health promoting behaviors and blood pressure control in adults with pre-hypertension. This program based on the ecological theory that composed of health education, cane dance skill training, eating behavior, and stress management supervised by family and village health volunteers. The samples included 38 pre-hypertension adults who lived in Nong-Plub, Phetchaburi Province. Nineteen samples were randomly assigned into the experimental group and the other half into the control group. The experimental group participated in 4-week-session. The control group would only receive routine care. Research instruments included the family and village health volunteer participation program, handbook for adult pre-hypertension, health promoting behaviors questionnaire, and sphygmomanometer. Data were analyzed by descriptive statistics, paired t-test and independent t-test.

            The results showed that the posttest mean scores of health promoting behavior and blood pressure were significantly than the pretest (p < .05). After the program,the experimental group were significantly in higher health promoting behavior and lower blood pressure than that in the control group (p <.05). The results of this study indicated that the family and village health volunteer participation program should be implemented for caring of adults with pre-hypertension in order to control their blood pressure through health promoting behaviors. Longitudinal study is strongly recommended at this point.  

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology