ความหลากหลายชนิดพันธุ์ของหอยน้ำจืดในระบบนิเวศนาข้าว
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาความหลากหลายชนิดพันธุ์ของหอยน้ำจืดในระบบนิเวศนาข้าว อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้อวนทับตลิ่ง และสวิงในการเก็บตัวอย่าง พบหอยน้ำจืดทั้งสิ้น 8 วงศ์ 14 ชนิด โดยมีหอยน้ำจืดในวงศ์ Amblemidae และ Viviparidae เป็นกลุ่มหอยวงศ์เด่นในด้านจำนวนชนิด โดยสามารถแบ่งหอยน้ำจืดออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามการใช้ประโยชน์ ได้แก่ กลุ่มหอยที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และกลุ่มหอยที่มีประโยชน์ด้านบทบาทการควบคุมระบบนิเวศ และพบหอยต่างถิ่นชนิดรุกราน 1 ชนิด ได้แก่ หอยเชอรี่ (Pomacea canaliculata) โดยในช่วงฤดูทำนาจะพบปริมาณความหนาแน่นของหอยน้ำจืดสูงกว่าช่วงนอกฤดูกาลทำนา ในด้านโครงสร้างประชากรทางนิเวศ พบว่าระบบนิเวศนาข้าวมีความหลากหลายของพรรณหอยน้ำจืดสูง แต่มีการกระจายของหอยน้ำจืดแต่ละชนิดไม่สม่ำเสมอ และมีหอยน้ำจืดบางชนิดที่มีปริมาณโดดเด่นกว่าชนิดอื่นๆ
คำสำคัญ: หอยน้ำจืด นาข้าว ระบบนิเวศเกษตร ความหลากหลาย
Abstract
Species diversity of freshwater mollusk in rice field ecosystem, Maharaj district Ayutthaya Province, were studied. In this survey, specimens were collected by beach seine and dip-net. There were 8 families 14 species of freshwater gastropod and bivalves. Amblemidae and Viviparidae are dominant family in quantity. The freshwater mollusk in this area can be separated into 2 groups by utilization namely 1. The economic mollusk and 2. The mollusks are useful to control the ecosystem. One mollusk species is species namely Pomacea canaliculata. In farming season, densities of mollusks were higher than post harvest season. In the part of population structure, the mollusk specimens in collecting site are high diversity but, the distribution of mollusk specimens are not evenness and some mollusk specimens are dominance more than other specimens in each collecting sites.
Key words: freshwater mollusk, rice field, agro-ecosystem, diversity