การพัฒนาแบบฝึกทักษะร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบร้าสำหรับการหาปริพันธ์

Main Article Content

สมพล พวงสั้น

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะร่วมกับชุดคำสั่งสำเร็จรูปของโปรแกรม  จีโอจีบร้า เรื่อง การหาปริพันธ์ และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การหาปริพันธ์ ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับชุดคำสั่งสำเร็จรูปของโปรแกรมจีโอจีบร้า ตัวอย่างที่ใช้ใน
การวิจัยนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาเคมีและสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 18 คน (คละความสามารถ) ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะ 2) แบบทดสอบย่อย และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)

               ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะร่วมกับชุดคำสั่งสำเร็จรูปของโปรแกรมจีโอจีบร้า เรื่องการหาปริพันธ์ ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 85.93/76.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 75/75 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การหาปริพันธ์ หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับชุดคำสั่งสำเร็จรูปของโปรแกรมจีโอจีบร้าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

คำสำคัญ: แบบฝึกทักษะ  โปรแกรมจีโอจีบร้า  การหาปริพันธ์

 

Abstract

            The purposes of this research were 1) to develop the supplementary exercises with GeoGebra package on integration and 2) to compare the learning achievement on integration by comparing between the test results from before and after studying with the supplementary exercises with GeoGebra package. The sample was obtained by a purposive sampling technique which consisted of 18 students (mixed ability) from the Chemistry and Computer Science Program, Faculty of Science and Technology, Rajabhat Rajanagarindra University. The instruments used in this research were 1) supplementary exercises 2) quiz papers and 3) learning achievement test. The statistical analyses used in this research were mean, standard deviation and t-test.

            The results of this research were as follows: 1) the efficiency of the supplementary exercises with GeoGebra package on integration was 85.93/76.11 which is higher than the standard criterion set at 75/75 and 2) the learning achievement after using the supplementary exercises with GeoGebra package was statistical significant higher than before using the exercises at the 0.05 level.

 

Keywords: Supplementary Exercises, GeoGebra, Integration

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology