การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการได้รับสารหนูที่ละลายในน้ำอุปโภคบริโภคในพื้นที่แหล่งแร่ดีบุกเก่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มข้นของสารหนูในแหล่งน้ำและน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคบริเวณพื้นที่แหล่งแร่ดีบุกจังหวัดสุราษฎร์ธานีระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม พ.ศ. 2556 และ เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการได้รับสารหนูจากน้ำอุปโภคบริโภค 5 ประเภท คือ น้ำประปาผิวดิน น้ำประปาบาดาล น้ำประปาขุมเหมือง น้ำประปาภูเขาและน้ำบ่อตื้น
ผลการวิเคราะห์ความเข้มข้นของสารหนูในน้ำอยู่ในช่วง 0.001 – 0.185 มก./ล. โดยน้ำขุมเหมืองเก่ามีความเข้มข้นสูงสุดและมีค่าเกินมาตรฐาน สำหรับน้ำประปาผิวดินและน้ำประปาขุมเหมืองมีค่าความเข้มข้นของสารหนูอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทั้งหมด
ผลการประเมินความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งพบว่าความเสี่ยงรวมของน้ำทุกประเภทสำหรับเด็กและผู้ใหญ่อยู่ในช่วง 1.20E-04 – 7.23E-03 และ 4.58E-05 – 2.75E-03 ตามลำดับ สำหรับความเสี่ยงรวมจากอันตรายอื่นนอกจากมะเร็งสำหรับคนทั้ง 2 กลุ่ม อยู่ในช่วง 0.27 – 16.06 และ 0.10 – 6.10 ตามลำดับ ความเสี่ยงทั้ง 2 ประเภทมีการเรียงลำดับจากมากไปน้อยเช่นเดียวกัน ดังนี้ น้ำบ่อตื้น น้ำประปาภูเขา น้ำประปา บาดาล น้ำประปาขุมเหมือง และน้ำประปาผิวดิน เส้นทางการรับสัมผัสผ่านทางเดินอาหารก่อให้เกิดความเสี่ยงมากกว่าทางผิวหนัง ความเสี่ยงที่สูงกว่าค่าที่ยอมรับได้ต้องมีการดำเนินการต่อไป
คำสำคัญ : การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ สารหนู เหมืองแร่ดีบุก น้ำประปาหมู่บ้าน
Abstract
The objectives of this research were to investigate the concentrations of arsenic in water resources and water supply in an old tin mine areas located in Surat thani province during June-July 2013 and to assess the human health risk from exposure to arsenic from 5 kinds of water supply produced from surface water, ground water, old mine water, hill water and shallow well water.
The concentrations of arsenic in water ranged from 0.001 to 0.185 mg/L. The maximum concentration which exceeded the standard value, was found in the old tin mine water. The concentrations of arsenic in surface water supply and the old tin mine water supply, were below the provincial water supply standard.
Total cancer risks for all kinds of water were in the range of 1.20E-04 – 7.23E-03 for child and 4.58E-05 – 2.75E-03 for adult. For total non-cancer risk of child and adult were 0.27-16.06 and 0.10-6.10, respectively. Both cancer and non-cancer risk descends from shallow well water, hill water supply, ground water supply, old mine water supply and surface water supply. The ingestion route caused higher risk than the dermal absorption. The unacceptable risks must be properly managed.
Keywords: Health risk assessment, Arsenic, Tin mine, village water supply