ผลของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ

Main Article Content

พุทธชาติ มากชุมนุม
นลินี พูลทรัพย์
ทิพาพร พงษ์เมษา

Abstract

บทคัดย่อ

               งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลบ้านนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ป่วยจำนวน 73 คน ได้รับการจัดเข้ากลุ่มโดยวิธีสุ่ม ให้อยู่ในกลุ่มศึกษา (36 คน) หรือกลุ่มควบคุม (37 คน) กลุ่มศึกษาได้รับการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ จำนวน 3 ครั้ง ทุก 4-8 สัปดาห์ และได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมตามปกติของโรงพยาบาล ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมตามปกติของโรงพยาบาลเท่านั้น การศึกษานี้มีระยะเวลา 12 เดือน ผลลัพธ์ที่วัดคือ สัดส่วนผู้ป่วยที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ตามเป้าหมาย ความร่วมมือในการใช้ยาที่วัดด้วยแบบประเมิน modified Morisky Medication Adherence Scale 8-item (modified MMAS-8) และการนับเม็ดยา และคุณภาพชีวิตที่วัดด้วยแบบประเมิน EuroQol-5D-3L (EQ-5D-3L) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ independent t-test, Mann–Whitney U Test และ Chi-square test          

            ผลการศึกษา พบว่า สัดส่วนผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ตามเป้าหมายของทั้ง 2 กลุ่ม  ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ กลุ่มศึกษามีคะแนนความร่วมมือในการใช้ยามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (6.22±1.20 คะแนน เทียบกับ 5.16±1.01 คะแนน, p-value < 0.001) ผลการนับเม็ดยา พบว่า ความร่วมมือในการใช้ยาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ คุณภาพชีวิตแยกตามมิติสุขภาพและที่วัดจาก EQ visual analogue scale (EQ VAS) ของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นมิติด้านการเคลื่อนไหวและความเจ็บปวด/ความไม่สุขสบาย (p-value = 0.025 และ 0.001 ตามลำดับ) ส่วนคะแนนอรรถประโยชน์ในกลุ่มศึกษา (0.86±0.10) มากกว่ากลุ่มควบคุม (0.74±0.21) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.009) สรุปการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพทำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

 

คำสำคัญ : การเยี่ยมบ้าน โรคความดันโลหิตสูง ความร่วมมือในการใช้ยา คุณภาพชีวิต

 

Abstract

               This study aimed to evaluate the effects of home health care on hypertensive patients by a multidisciplinary team from Bannasan Hospital, Bannasan District, Surat Thani Province. Seventy-three patients were randomly allocated to a study group (n=36) or a control group (n=37). The study group received 3 visits of home health care every 4-8 weeks in addition to usual pharmaceutical care service provided at the hospital, while the control group received only the usual pharmaceutical care service at the hospital. The total study duration was 12 months. The proportions of patients whose blood pressure control was within target, medication adherence as measured by modified Morisky Medication Adherence Scale 8-item (modified MMAS-8) and pill count, and quality of life as measured by EuroQol-5D-3L (EQ-5D-3L) were evaluated at baseline and the end of the study. Statistics used to analyze the data were independent t-test, Mann –Whitney U test, and Chi-square test.  

               The results showed no significant differences in the proportion of patients whose blood pressure control was within target between the two groups. Medication adherence significantly improved in the study group compared to the control group (6.22±1.20 vs. 5.16±1.01, p-value < 0.001). The results from pill count showed no significant difference between the two groups. The health profiles as measured by EQ-5D and EQ visual analogue scale (EQ VAS) were not statistically different between the two groups in any of the dimensions, except for mobility and pain/discomfort, whereas the EQ-5D utility score in the study group (0.86±0.10) was higher than that in the control group (0.74±0.21) (p-value = 0.009). This showed that home health care by the multidisciplinary team could help hypertensive patients to have better drug adherence and achieve a better quality of life.

 

Keyword : home health care, hypertension, medication adherence, quality of life  

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology