การประเมินผลกระบวนการประสานรายการยาที่มีต่อความคลาดเคลื่อนทางยา ผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน จากหน่วยบริการปฐมภูมิ ณ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

Main Article Content

วราภรณ์ ภูมิอภิรัตน์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินกระบวนการประสานรายการยา และประเมินระดับความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนทางยา ในผู้ป่วยนอกคลินิกเบาหวาน รพ.นพรัตน์ราชธานี วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยกึ่งทดลองในผู้ป่วยนอกโรคเบาหวานที่ถูกส่งตัวมาจากหน่วยบริการปฐมภูมิเพื่อมารับการรักษาที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2555 ถึง เมษายน 2556 จำนวน 150 ราย โดยมีการสร้างกระบวนการประสานรายการยาในรูปแบบการพิมพ์ใบสั่งยาล่วงหน้า แทนการใช้ใบ medication reconciliation form (MRF) และแนบไปกับเวชระเบียนผู้ป่วยก่อนเข้าพบแพทย์ เพื่อลดการสั่งยาโดยการคัดลอก การศึกษาผ่านการพิจารณาจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมของโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี      ผลการศึกษาพบจำนวนรายการยาที่มีความคลาดเคลื่อนก่อนกระบวนการประสานรายการยา 55 รายการจากรายการยาทั้งสิ้น 1141 รายการ และหลังกระบวนการประสานรายการยา พบการคลาดเคลื่อน 1 รายการยา จากจำนวนรายการยา 1151 รายการ         โดยพบว่าความคลาดเคลื่อนทางยาลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากร้อยละ 4.82 เป็น ร้อยละ 0.08 (p<0.001)   ประเภทของความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบมากที่สุด คือ สั่งใช้ยาในขนาดหรือความถี่แตกต่างจากที่เคยได้รับ (ร้อยละ 45.45) รองลงมาคือไม่ได้รับยาที่ผู้ป่วยเคยได้รับ (ร้อยละ 30.92) ระดับความรุนแรงของความคลาดเคลื่อนทั้งก่อนและหลังดำเนินการประสานรายการยาทั้งหมด อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย โดยก่อนดำเนินการพบความคลาดเคลื่อนระดับ C (มีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น แต่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย ถึงแม้ความคลาดเคลื่อนนั้นไปถึงผู้ป่วยแล้ว) ร้อยละ 61.82 และ ระดับ D (มีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น แต่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย แต่ยังมีความจำเป็นต้องติดตามผู้ป่วยเพิ่มเติม) ร้อยละ 38.18 และหลังดำเนินการพบความคลาดเคลื่อนในระดับ B (มีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น แต่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย เนื่องจากความคลาดเคลื่อนไปไม่ถึงผู้ป่วย) ร้อยละ 100 สรุปผล. การดำเนินการประสานรายการยาที่มีการใช้ใบ MRF ในรูปแบบใบสั่งยาเดิม แนบไปกับเวชระเบียนเพื่อให้แพทย์ได้พิจารณาก่อนสั่งจ่ายยา และการที่สามารถใช้ใบ MRF แทนใบสั่งยาได้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายการยา เป็นกระบวนการประสานรายการยาที่มีประสิทธิภาพที่สามารถลดอุบัติการณ์การเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาได้เป็นอย่างดี


Abstract

Objectives of this study are to (1) Evaluate the medication reconciliation process and (2) Determine levels of adverse events resulting from medication errors in outpatients with diabetes at Nopparat rajathanee hospital.  This quasi-experimental research was conducted in 150 diabetes patients, referring from 19 primary care units during November 2012 to April 2013. Medication reconciliation process was developed by pharmacist using a pre-print prescription as a Medication Reconciliation Form (MRF). The study was approved by Nopparat rajathanee hospital ethics committee.  Results: Fifty-five out of 1141 items of medicines were found error prior to applying the Medication Reconciliation (MR) process. However, after the MR process only 1 in 1151 items was found error. Medication discrepancies decreased insignificantly from 4.82% to 0.08% (p<0.001). The most common errors were incorrect dosage and time interval (45.45%), following by omission error (30.92%). A potential harm of adverse events due to medication errors was not found. Prior to using the MR process, majority of the medication error (61.82%) was in category C (error had occurred and reached the patient, but did not harmful). While 38.18% was in category D (error had occurred and reached the patient, but did not harmful, however, required further monitoring to confirm that its harm). After the MR process, medication error was in category B (error had occurred but did not reach the patient). Conclusion: The process of medication reconciliation by using a pre-print prescription as the MRF, attached to the OPD card and its benefit for physicians to use as prescription in a current visit is very effective in decreasing medication errors.

   

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology
Author Biography

วราภรณ์ ภูมิอภิรัตน์